![]() |
โจทย์สำคัญของสพฐ.เลาะเลียบคลองผดุงฯ
ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ โครงการสถาบันวิจัยการเรียนรู้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เปิดข้อมูล ปีการศึกษา 2557 พบร.ร.อนุบาล-ประถมขนาดเล็กประมาณ 1 พันแห่ง มีจำนวนครูไม่ถึงเกณฑ์ โดยขาดแคลนครูรวมกัน 1.2 พันคน แต่ขณะเดียวกันมีร.ร.อีก 8.5 พันแห่ง กลับมีจำนวนครูเกินรวมกัน 1.5 หมื่นคน
ซึ่งภาพปัญหาความขาดแคลนครู ยังพบว่าไปกระจุกตัวอยู่ในร.ร.ขนาดกลางของสพฐ.ที่มีถึง 2.5 พันแห่ง รวมกันแล้วกว่า 4 พันคน กล่าวจำเพาะครู ร.ร.ขนาดเล็กที่ต้องสอนนักเรียนกว่า 9 แสนคน หรือร้อยละ 22 ของนักเรียนอนุบาลและประถมทั้งหมด หากสามารถลดความขาดแคลนครูได้ จะช่วยยกระดับผลการเรียนให้นักเรียนได้ถึง 1 ใน 5 ในระดับชั้นอนุบาล-ประถมศึกษา ซึ่งจะเป็นฐานสำคัญทำให้เกิดคุณภาพการเรียนรู้ในอนาคต
ศุภณัฏฐ์ยกอ้างรายงานวิจัยของธนาคารโลก (2558) ชี้ให้เห็นว่า การลดความขาดแคลนครูเป็นหนึ่งในโจทย์สำคัญของไทย ในการยกระดับคุณภาพและการลดความเหลื่อมล้ำของระบบการศึกษาไทยได้
ชี้ชัดถึงทางแก้ของโรงเรียนในกลุ่มที่มีผลการเรียนต่ำที่สุดและมีครูไม่ ครบชั้นเรียน หากได้จัดสรรครูเพิ่ม 1 คนต่อ 1 ห้อง ผลการเรียนนักเรียนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 จะลดช่องว่างผลการเรียนระหว่างนักเรียนลงด้วย
แต่ปัจจุบันสพฐ.ยังใช้เกณฑ์โรงเรียนอนุบาล-ประถม ทั่วไป ควรมีครูเฉลี่ยประมาณ 1 คนต่อนักเรียน 25 คน ส่วนโรงเรียนขนาดเล็กควรมีครู 1 คนต่อนักเรียน 20 คน ทำให้มองไม่เห็นภาพใหญ่ความขาดแคลนครู
สภาพความเป็นจริง แม้โรงเรียนขนาดเล็กมีจำนวนนักเรียนน้อย แต่ก็มีจำนวนห้องเรียนเฉลี่ย 8 ห้องต่อโรงเรียน มีครูเฉลี่ยประมาณ 5 คน ทำให้เกิดภาวะครูไม่ครบชั้นเรียน เพราะครู 1 คนต้องดูแลมากกว่า 1 ห้องเรียน
หากสพฐ.ลองปรับใช้เกณฑ์ตามสภาพความเป็นจริง โดยยึดครู 1 คนต่อ 1 ห้องเรียน จะพบตัวเลขขาดครูอนุบาล-ประถมขนาดเล็กใน 1.4 หมื่นแห่ง รวมแล้ว 4.3 หมื่นคน
นี่คือ การบ้านชุดใหญ่ของสพฐ.ต้องหาคนมีฝีมือจริงๆ เข้ามาทำ
|
โพสเมื่อ : 03 ส.ค. 58 อ่าน 1471 ครั้ง คำค้นหา : |