![]() |
จัดค่ายภาษาอังกฤษ-จีนเพิ่มทักษะการสื่อสารเด็กอาชีวะ ปัจจุบันใครมีความรู้มากกว่า 1 ภาษาถือว่าได้เปรียบกว่าคนอื่นไป หนึ่งก้าว โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภาษาจึงถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในฐานะสื่อกลางในการสื่อสารและเป็น เครื่องมือสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จึงมีนโยบายมุ่งเน้นให้มีการปฏิรูปการศึกษา โดยให้เป็นไป ทั้งระบบและมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและศักยภาพของผู้เรียนให้เข้มแข็ง สามารถใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร และนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ รวมถึงนักเรียน และครูมีศักยภาพและสมรรถนะการแข่งขันในเวทีโลกได้ ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จึงได้จัดกิจกรรมช่วง ปิดเทอมฤดูร้อนขึ้น จำนวน 2 โครงการ คือ 1. โครงการส่งเสริมทักษะวิชาชีพเพื่อสร้างความ เป็นมืออาชีพและสร้างความเป็นเลิศของนักศึกษาอาชีวะ ในรูปแบบไชนีสแคมป์ จำนวน 3 ศูนย์ ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคยโสธร วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง และวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี จำนวน 231 คน และ 2. โครงการส่งเสริมทักษะวิชาชีพเพื่อสร้างความเป็นมืออาชีพและสร้างความเป็นเลิศของนักศึกษาอาชีวะในรูปแบบอิงลิชแคมป์ เพื่อการสื่อสารในอาชีพ จำนวน 5 ศูนย์ ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา และวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี จำนวน 100 คน ทั้ง 2 โครงการได้ดำเนินการในรูปแบบกิจกรรมค่ายภาษาต่างประเทศ โดยมีครูต่างชาติร่วมเป็นวิทยากรในโครงการด้วย ขณะนี้ทั้ง 2 โครงการ ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว และมีกิจกรรมต่อเนื่อง คือทั้ง 2 ค่าย ได้คัดเลือกนักศึกษาที่มีความสามารถในการใช้ภาษาจีนและภาษาอังกฤษได้ดี เพื่อส่งเดินทาง ไปฝึกภาษาที่ประเทศจีน เมียนมาร์ อินโดนีเซียและสิงคโปร์ การจัดค่ายในลักษณะนี้ ถือเป็น มิติใหม่ของการจัดค่ายอาชีวศึกษา เนื่องจากใช้ระยะเวลาในการอบรมถึง 4 สัปดาห์ ในขณะที่ ปกติแล้ว ค่ายอื่นๆ ใช้ระยะเวลาเพียง 3-4 วัน เพราะการเรียนภาษาให้ได้ผลนั้น จะต้องเรียน อย่างต่อเนื่อง และเข้มข้น ซึ่งจะทำให้เกิดพัฒนาการทางด้านภาษาที่ดีขึ้น สามารถนำไปใช้สื่อสาร ศึกษาต่อ และใช้ในการประกอบวิชาชีพได้ แต่ทั้งนี้ ก็ต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรให้ดียิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวสรุปภาพรวมการจัดค่ายภาษาต่างประเทศ (อังกฤษ-จีน) ของ สอศ. ว่า ประเทศไทยต้องเตรียมความพร้อมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นรากฐานที่มั่นคงและเข้มแข็ง เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ภาษาต่างประเทศจึงถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จำเป็นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ และภาษาจีน ซึ่งเป็นภาษาที่คนทั่วโลกนิยมใช้ในการสื่อสาร ศธ.ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ เพื่อสร้างสังคมฐานเศรษฐกิจที่อาศัยภาษาอังกฤษและภาษาจีนเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร จึงสนับสนุนให้สอศ.จัดกิจกรรมค่ายภาษาขึ้น ซึ่งขณะนี้ สอศ. ได้สรุปผลเพื่อเป็นการประเมินศักยภาพของนักเรียน นักศึกษา ที่เข้าร่วมกิจกรรมค่าย ปรากฏว่าสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้ง 2 ภาษา มีความพร้อมที่จะเดินทางไปศึกษาดูงานยังประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งตนเชื่อว่าการพัฒนาเศรษฐกิจยุคใหม่จะต้องใช้เทคโนโลยีและความรู้ของบุคคลเป็นฐานในการพัฒนา ภาษาจึงถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ใช้ในการสื่อสาร และเป็นการเปิดโลกแห่งการเรียนรู้ที่สำคัญ เป็นหนทางที่จะดึงความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการเรียนการสอนวิชาชีพแต่ละสาขา ค่ายภาษา ถือเป็นก้าวสำคัญ ของสอศ. ในการเสริมสร้างทักษะให้กับครูและนักศึกษา เชื่อว่า อนาคตอันใกล้นี้ ผู้ที่จบอาชีวะจะสามารถใช้ภาษาต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับทักษะวิชาชีพได้ดี และจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้ก้าวไปสู่คุณภาพเทียบเท่าประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ ในกลุ่มอาเซียนได้อย่างไม่อายใคร --มติชน ฉบับวันที่ 8 พ.ค. 2557 (กรอบบ่าย)-- |
โพสเมื่อ : 07 พ.ค. 57 อ่าน 1537 ครั้ง คำค้นหา : |