![]() |
คุณภาพการศึกษาแก้ได้เลาะเลียบคลองผดุงฯ
เริ่มจากแก้ที่สาเหตุอันเป็นแก่นแท้ของปัญหา โดยประเทศไทยในยุคศตวรรษที่ 21 เป็นยุคที่ต้องพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาโดยการใช้หลักสูตรอิงมาตรฐาน (Performance Standard-based Curriculum) เพราะมาตรฐาน คือ คำอธิบายคุณภาพในลักษณะของมิติต่างๆ ว่า นักเรียนรู้อะไร ทำอะไรได้ และเป็นคนอย่างไร
เพราะเท่าที่ผ่านมา ประเทศไทยเราก็ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่เป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน
แต่เพราะเหตุใดคุณภาพการศึกษาไทยจึงตกต่ำลงทุกปี โดยเฉพาะผลสัมฤทธิ์การเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก นับตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 เป็นต้นมาต่ำกว่าร้อยละ 50 และในปี 2554 คุณภาพยิ่งต่ำเป็นแนวลาดเอียง
คำตอบของ ดร.ศักดิ์สิน คือ หลักสูตรอิงมาตรฐาน มีองค์ประกอบสำคัญ คือ เนื้อหา มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด แนวทางการออกแบบการเรียนรู้ตามแนว Backward Design กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และมิติคุณภาพที่ใช้ประเมินภาระงาน ชิ้นงานว่าผู้เรียนมีศักยภาพเพียงใด
แต่ปรากฏว่า เกือบทุกสถานศึกษานำไปใช้เพียงเฉพาะเนื้อหา องค์ประกอบสำคัญอื่นๆ กลับไม่นำไปใช้ เพราะไม่มีการสร้างความเข้าใจกับผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จึงโทษครูไม่ได้
เมื่อครูผู้สอนยังไม่เข้าใจจึงมุ่งสอนเน้นเนื้อหา ให้จำเนื้อหา จำตัวอย่าง จำคำตอบ และจำข้อสอบ เหมือนหลักสูตรในอดีตที่เน้นเนื้อหา ขาดการคิดวิเคราะห์ การประเมินการเลือก การตัดสินใจ มีแต่ความจำระยะสั้น ผู้เรียนจึงไม่ประสบความสำเร็จ เพราะ ไม่ได้สอนกระบวนการ ที่ความรู้อยู่ที่กระบวนการตามศาสตร์นั้นๆ
กระทรวงศึกษาธิการโดยเฉพาะ สพฐ. จึงต้องหาทางช่วยเหลือและสนับสนุนการสร้างความเข้าใจกันทั้งระบบเสียก่อน ต้องมีแผนที่ความคิดในพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตลอดแนวเชื่อมโยงสัมพันธ์ของการ สร้างความรู้ทุกมิติทั้งระบบ จึงจะเป็นการนำเสนอการแก้ไขปัญหาทางการศึกษาได้อย่างไม่สับสน
ดร.ศักดิ์สินยืนยันว่า วิธีการดังกล่าวใช้เวลาไม่นาน ลงทุน ไม่มาก คาดหวังได้สำเร็จแน่นอน
|
โพสเมื่อ : 08 มิ.ย. 58 อ่าน 1408 ครั้ง คำค้นหา : |