ม.เกษตรฯร่วมมือบริษัทยาผลิตหมามุ่ยพืชเศรษฐกิจตัวใหม่




      

ม.เกษตรฯร่วมมือบริษัทยาผลิตหมามุ่ยพืชเศรษฐกิจตัวใหม่

          สำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต กำแพงแสน ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการและการค้า กับ บริษัท โคคัน ฟาร์มาซูติคอล อินสติติวท์ จำกัด เพื่อการใช้ประโยชน์และการซื้อหมามุ่ย (Mucuna pruriens) เกรดเภสัชกรรมที่ผลิตโดยสถานที่ผลิตยาสมุนไพรฯ เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าของบริษัท ทั้งนี้เนื่องจากพบว่า หมามุ่ย หรือ ถั่วเวลเวท (Velvet bean) มีคุณสมบัติในการเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ที่จะเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ เนื่องจาก พบว่า เมล็ดหมามุ่ยมีกรดอะมิโนที่จำเป็น ถึง 18 ชนิดและแร่ธาตุ รวมถึง คุณค่าทางโภชนะ หลายประการ โดยมีสรรพคุณทางแพทย์ปัจจุบันคือ ในเมล็ดหมามุ่ยประกอบด้วยสารแอลโดปา (L-Dopa, Levodopa) ชื่อสารเคมีตาม IUPAC; (S)-2-Amino-3-(3,4-dihydroxyphenyl) propanoic acid เป็นสารเคมีที่พบได้ทั้งใน มนุษย์ สัตว์ และพืช ในมนุษย์ และสัตว์สามารถสังเคราะห์ได้ในร่างกายจากกรดอะมิโนแอลไทโรซีน (L-tyrosine) ซึ่งสารแอลโดปามีในเมล็ดหมามุ่ยปริมาณ 3.0-6.0 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็น aromatic non-protein amino acid และเป็นสารตั้งต้นใน การสังเคราะห์สารสื่อประสาทโดปามีน (dopamine), นอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) และ เอพิเนฟริน epinephrine (adrenaline) ซึ่งเป็น สารเคมีที่เป็นทั้งฮอร์โมนและสารสื่อประสาทในกลุ่มแคททีโคลามีน (Catecholamines) ที่มีอิทธิพลต่อระบบการสืบพันธุ์ มีผลทำให้สมรรถภาพทางเพศเพิ่มขึ้น เป็นสารเคมีที่ผลิตขึ้นในร่างกาย ในสมอง โดพามีนทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท (neurotransmitter) คอยกระตุ้น โดพามีน รีเซพเตอร์ (dopamine receptor) โดพามีนทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนประสาท (neurohormone) ที่หลั่งมาจากไฮโปทาลามัส (hypothalamus) หน้าที่หลักของฮอร์โมนตัวนี้คือยับยั้งการหลั่งโปรแลคติน (prolactin) จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (anterior pituitary)

      

    ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า


โพสเมื่อ : 30 มิ.ย. 57   อ่าน 1409 ครั้ง      คำค้นหา :