![]() |
ผศ.จำรูญ ณ ระนอง นักวิชาการอิสระ
เปิดเผยถึงกรณีที่เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)
เสนอให้ สมศ. หยุดการประเมิน 3 ปี เพื่อปรับปรุงวิธีการประเมินให้เหมาะสม
ว่า หากมีการหยุดหรือชะลอการประเมินออกไป
ยิ่งจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษาให้สาหัสขึ้นกว่าทุกวันนี้
ซึ่งปัจจุบันนี้คุณภาพการศึกษาของไทยล้าหลัง
และอ่อนด้อยกว่าประเทศอื่นทั้งในระดับอาเซียน และระดับโลกมาก
เห็นได้จากผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกจากประเทศอังกฤษ ของ QS World
University Ranking ในปี 2557 มหาวิทยาลัยไทยติดระดับนานาชาติ 500
อันดับแรก เพียงแค่ 2 แห่งเท่านั้น และในระดับภูมิภาคอาเซียน
ที่มีการเก็บข้อมูล 8 ประเทศ
พบว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับสุดท้ายของการจัดอันดับ ซึ่งเป็นวิกฤติของชาติ
ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด และต้องรีบแก้ไข เร่งด่วน แต่ตอนนี้เรากำลังหลงทาง
และแก้ปัญหาไม่ถูกจุด เกาไม่ถูกที่คัน ผศ.จำรูญ กล่าวต่อว่า การให้ สมศ. ปรับการประเมินใหม่ เป็นแบบสุ่มตรวจประเมินสถานศึกษานั้น ไม่สามารถบอกได้เลยว่าแต่ละสถานศึกษาที่ไม่ได้รับการประเมินมีคุณภาพอย่างไร มีจุดใดบ้างที่เป็นจุดอ่อนที่ต้องพัฒนา และจะต้องพัฒนาอย่างไร จะต้องให้มีการนั่งเทียน เดาสภาพและคุณภาพสถานศึกษาแต่ละแห่งอย่างนั้นหรือ นอกจากนี้ที่กล่าวอ้างและสนับสนุนกันว่าการประเมินภายนอกเป็นภาระให้ ครู/อาจารย์ทำเอกสาร ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นการทำฐานข้อมูลของสถานศึกษา โดยสถานศึกษาต้องดำเนินการเป็นประจำทุกปีนั้น เป็นการเข้าใจผิดพลาด ของสังคม เพราะการดำเนินงานเอกสารดังกล่าวนั้นเป็นเรื่องของการประกันคุณภาพภายใน ซึ่งเป็นภารกิจตามกฎหมายของสถานศึกษาและต้นสังกัดต้องควบคุมโดยเข้าประเมิน ภายในอย่างน้อย 1 ครั้งในทุกๆ 3 ปี และต้อง สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาในสถานศึกษา สมศ.เข้าประเมินภายนอก 1 ครั้ง (3 วัน) ในทุก 5 ปี (1,826 วัน) เท่ากับ สมศ.ประเมินสถานศึกษาเพียง 3 วัน ในเวลา 1,826 วัน โดยพิจารณาความสำเร็จของ การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา และแนะนำให้นำผลประเมินไปใช้เพื่อพัฒนา ฉะนั้นภาระหนักอึ้งในการทำเอกสาร ของครู/อาจารย์ที่เข้าใจกันว่าเป็นเหตุจากการประเมินภายนอกของ สมศ. จึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากความ เป็นจริง ซึ่งทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้อง ร่วมกันสร้างความเข้าใจและสร้างแรงบันดาลใจให้มีการทำประกันคุณภาพภายในให้ เข้มแข็งต่อเนื่อง เป็นวัฒนธรรม คุณภาพ นั่นแหละจึงจะสามารถทำให้การ ศึกษาชาติเกิดการพัฒนาไปสู่ทิศทางที่ เหมาะสมได้อย่างแท้จริง ไม่หลงทิศ หลงทางอยู่อย่างเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ที่มา แนวหน้า |
โพสเมื่อ : 22 ธ.ค. 57 อ่าน 1447 ครั้ง คำค้นหา : |