อาชีวะไทย-มาเลย์-อินโดฯ เข้าแคมป์แลกภูมิรู้วิชาชีพ
อาชีวะไทย-มาเลย์-อินโดฯ เข้าแคมป์แลกภูมิรู้วิชาชีพ
การมุ่งพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนด้านอาชีวศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นหนึ่งในพันธกิจสำคัญของ ศูนย์พัฒนาการศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศพต.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) ซึ่งที่ผ่านมาได้จัดโครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อหวังให้เด็กอาชีวศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีศักยภาพทัดเทียมกับเด็กในภาคอื่น ๆ และนานาประเทศ อันจะส่งผลต่อการมีอาชีพ มีรายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต ล่าสุดเมื่อเร็ว ๆ นี้ ศพต.ได้จัด โครงการความร่วมมือกับต่างประเทศในการพัฒนา การอาชีวศึกษา โดยการแลกเปลี่ยนครูและนักเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านโครงการค่ายเยาวชนอาชีวศึกษาไทยมาเลเซีย และโครงการค่ายเยาวชนอาชีวศึกษาไทย-อินโดนีเซีย เพื่อให้ครูและนักเรียน ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการเรียนวิชาชีพในสาขาต่าง ๆ รวมทั้งหลักสูตร สื่อการเรียนการสอนที่มีคุณภาพมาตรฐาน และเทคโนโลยีทางด้านการศึกษาวิชาชีพ เพื่อยกระดับอาชีวศึกษาสู่มาตรฐานการศึกษาอาเซียน สำหรับ โครงการค่ายเยาวชนอาชีว ศึกษาไทย-มาเลเซีย ปีนี้จัดขึ้นเป็นปีแรก ซึ่งประเดิมด้วยการส่งครูและเด็กอาชีวศึกษาไทย 76 คน จาก 15 วิทยาลัยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้ามาเก็บเกี่ยวความรู้ในสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม ที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาลังกาวี และสาขาวิชาเทคนิคยานยนต์ และสาขาวิชาช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาอลอร์สตาร์ รัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย เป็นเวลา 2 สัปดาห์ โดยการเรียนรู้ในแต่ละสาขาวิชานั้น เด็กไทยและเด็กมาเลเซียจะได้เรียนร่วมกัน และทำกิจกรรมเหมือนกันทุกประการ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ประกายกานต์ แก้วศรี นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.2) สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม วิทยาลัยการอาชีพละงู จ.สตูล ได้ฉายภาพการเรียนการสอนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า อุปกรณ์การเรียนของที่นี่มีให้สำหรับนักเรียนครบทุกคน แบบหนึ่งต่อหนึ่ง ทำให้เด็กได้ลองปฏิบัติจริง และได้รับความรู้อย่างเต็มที่ ซึ่งรู้สึกดีใจ เพราะเป็นครั้งแรกที่ได้ออกมาเรียนรู้นอกประเทศ ได้ความรู้อย่างมากมาย ทั้งการทำอาหาร การทำค็อกเทล และการจัดโต๊ะอาหาร นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้เยี่ยมชมและเรียนรู้การทำงานของโรงแรมระดับ 5 ดาวในเกาะลังกาวีด้วย ทำให้รู้สึกตื่นเต้นและประทับใจ ซึ่งก็พร้อมจะนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้และถ่ายทอดต่อให้เพื่อนๆ ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการได้รับรู้ด้วย ขณะที่การเรียนการสอนด้านช่างไฟฟ้าและยานยนต์ ก็สนุกสนานไม่แพ้กัน ซุล กิฟลี ตาเล๊ะ นักเรียน ปวช.2 สาขาวิชาช่าง ไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคปัตตานี จ.ปัตตานี เล่าว่า การเรียนได้เข้าร่วมโครงการและได้มาเรียนรู้ที่มาเลเซีย ทำให้เห็นว่า อุปกรณ์และเครื่องมือในการเรียนการสอนของที่นี่ มีการอัพเดทให้ทันสมัยตลอดเวลา และเขาให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของเด็กในการใช้เครื่องมือเป็น อันดับแรก หากต้องใช้เครื่องเจียร หรือใช้สว่านทุกคนต้องสวมแว่นตา ซึ่งบ้านเรายังไม่เคร่งครัดเรื่องนี้ ใครจะสวมหรือไม่ก็ได้และเครื่องมือก็ไม่ทันสมัย เรื่องภาษาไม่ได้เป็นอุปสรรคในการเรียนร่วมกับเด็กมาเลเซียเลย เพราะเด็กไทยทุกคนสามารถพูดภาษามลายูได้ หากไม่เข้าใจเรื่องอะไรก็สอบถามได้ทันที ซึ่งการใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ 2 สัปดาห์ มีหลายสิ่งที่ผมรู้สึกประทับใจ และจะนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตที่เมืองไทย คือ การตรงต่อเวลา การให้เกียรติผู้หญิง การเสียสละ และการกล้าแสดงออก ซึ่งเด็กที่นี่เมื่อครูเปิดโอกาสให้ถามก็จะแย่งกันยกมือถาม ผิดกับบ้านเราที่ไม่มีใครถามเลย ทั้งนี้ผมคิดว่าเวลาอยู่ที่นี่น้อยเกินไป อยากให้ขยายเวลาเป็น 1 เดือน เพื่อให้มีช่วงเวลาในการปรับตัวด้วย ก่อนแยกย้ายเข้าเรียนในชั่วโมงภาคปฏิบัติ ซุลกิฟลี ขอเป็นตัวแทนเด็กไทย กล่าวทิ้งท้ายว่า เป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ ๆ เพราะนอกจากจะได้รับความรู้ที่หลากหลาย เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียน และประกอบอาชีพแล้ว ยังทำให้พวกเรารู้จัก และเข้าใจวัฒนธรรม รวมทั้งได้เยี่ยมชมสถานที่สำคัญของมาเลเซียด้วย แต่เหนือสิ่งอื่นใดสิ่งที่ทุกคนประทับใจไม่รู้ลืม คือ มิตรภาพของเพื่อนๆ ร่วมชั้นชาวมาเลเซีย ที่มอบให้แก่เด็กไทยทุกคน ทั้ง รอยยิ้ม และเสียงหัวเราะที่อยู่ด้วยกัน 2 สัปดาห์คงจะตราตรึงอยู่ ประกายกานต์ในใจพวกเราไปอีกนาน จากค่ายเยาวชนอาชีว ศึกษาไทย-มาเลเซีย ณ ประเทศมาเลเซีย ข้ามฟากกลับมาที่ประเทศไทย ได้มีการจัด โครงการค่ายเยาวชนอาชีวศึกษาไทย-อินโด นีเซีย ณ หาดแก้วรีสอร์ท จังหวัดสงขลา ซึ่งปีนี้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดยมีคณะครูและนักเรียนอาชีวศึกษาจากประเทศอินโดนีเซียจำนวน 95 คน จาก 10 สถานศึกษา เดินทางมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนการสอนด้านอาชีวศึกษาในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ รวมทั้งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ผ่านการเรียนร่วมชั้นกับเด็กไทยในวิทยาลัยต่าง ๆ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงร่วมกันตั้งแต่ปี 2553 ความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรร่วมกัน ระหว่างไทย-มาเลเซีย และ ไทยอินโดนีเซียที่เกิดขึ้น คงไม่ใช่โครงการ แรกของความร่วมมือและการสานสัมพันธ์ระหว่างมิตรประเทศ แต่จะเป็นการสาน ต่อความสัมพันธ์อันดีและความช่วยเหลือเกื้อกูลเพื่อนำพาประโยชน์สุข และการพัฒนาให้เกิดแก่ทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียน ร่วมกัน.
--เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 16 ก.ค. 2557 (กรอบบ่าย)-- |
โพสเมื่อ :
15 ก.ค. 57
อ่าน 1489 ครั้ง คำค้นหา :
|
|