สนามฟุตซอลอุตรดิตถ์ สร้างใน"โรงเรียนร้าง" ไร้คนเล่น-หญ้าขึ้นรก
เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ผู้สื่อข่าวรายงานจาก
จ.อุตรดิตถ์ว่า ได้รับแจ้งจากชาวบ้านปางต้นผึ้ง หมู่ 10 ต.บ้านด่านนาขาม
อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านอยู่กลางหุบเขารอยต่อระหว่าง
จ.อุตรดิตถ์กับเขต ต.ห้วยไร่ อ.เด่นชัย จ.แพร่
ให้ไปตรวจสอบสนามฟุตซอลกลางแจ้งที่ถูกสร้างทิ้งไว้ในโรงเรียนปางต้นผึ้ง
พบว่าโรงเรียนแห่งนี้สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.)
อุตรดิตถ์ เขต 1 เป็นโรงเรียนที่ไม่มีการเรียนการสอนแล้ว และเป็น 1 ใน 40
โรงเรียนสังกัด สพป.อุตรดิตถ์ เขต 1 ที่ได้รับงบประมาณแปรญัตติของ ส.ส.ปีงบ
2555 นำมาก่อสร้างสนามฟุตซอลกลางแจ้งในราคา 980,300 บาท ก่อสร้างโดย
บริษัท ออคตากอน มาร์เก็ตติ้ง เซอร์วิส จำกัด มีสำนักงานใหญ่ เลขที่ 582
ซอยอ่อนนุช 17 ถนนสุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ
จากการตรวจสอบสนามฟุตซอลกลางแจ้งในโรงเรียนปางต้นผึ้งพบว่า
ก่อสร้างบนพื้นสนามบาสเกตบอล สภาพพื้นสีซีด บริเวณรอบสนามทั้ง 4 ด้าน
มีวัชพืชขึ้นปกคลุม บางส่วนกลางสนามก็มีหญ้าขึ้นแทรกเป็นจุดๆ ด้วย
เสาประตูและตาข่ายทั้ง 2 อัน ถูกนำไปไว้ในสนามหญ้ากลางโรงเรียน
เพื่อใช้แทนเสาประตูฟุตบอล อย่างไรก็ตาม
จากการเดินตรวจสอบโดยรอบอาคารเรียนพบว่า ถูกปิดตายมานานกว่า 1 ปีครึ่งแล้ว
ป้ายหน้าอาคารเรียนอยู่ในสภาพร้าง ระบุจำนวนนักเรียน 17 คน ชั้นอนุบาล 1
และ 2 มี 7 คน ประถมศึกษา (ป.) 1 มี 1 คน, ป.2 ไม่มีนักเรียน, ป.3 มี 4 คน,
ป.4 มี 2 คน, ป.5 มี 2 คน และ ป.6 มี 1 คน
อดีตกรรมการโรงเรียนปางต้นผึ้งกล่าวว่า โรงเรียนไม่เคยขอสนามฟุตซอล
เพราะโรงเรียนมีนักเรียนเพียง 17 คน แต่ สพป.อุตรดิตถ์ เขต 1
ไม่รู้จะทำอย่างไร จึงขอให้โรงเรียนยอมรับไว้ ตอนสร้างแรกๆ
ก็พอมีนักเรียนเล่นบ้าง แต่ผ่านไปเดือนเดียวก็ไม่เล่นอีกเลย
เพราะล้มแล้วเจ็บ มีบาดแผลถลอกตามแขนขา เยาวชนในหมู่บ้านก็ไม่มาเล่น
เพราะส่วนใหญ่ไม่สวมรองเท้าเล่น จึงต้องยกประตูไปไว้ที่สนามหญ้าให้เด็กๆ
ได้เล่นฟุตบอลช่วงเย็น สนามฟุตซอลจึงไม่มีใครเล่นอีกเลย
สนามแห่งนี้ไม่คุ้มค่ากับการก่อสร้าง เสียดายงบประมาณ
แทนที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างอื่นมากกว่า
�ก่อนหน้านี้ราวปี 2554 สพป.อุตรดิตถ์ เขต 1 ก็เคยนำงบจากการแปรญัตติของ
ส.ส.มาให้โรงเรียนจำนวน 100,000 บาท
พร้อมสั่งให้ทำรายการจัดซื้อจัดจ้างสื่อการเรียนการสอน 5 รายการ
ที่ร้านจำหน่ายเครื่องเขียนแห่งหนึ่งในเขตเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์
ซึ่งเป็นของอดีต ส.ส. และร้านจำหน่ายสื่อการเรียนการสอนอีกแห่งหนึ่งที่
อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ เป็นของอดีตรัฐมนตรีคนหนึ่ง
ซึ่งงบดังกล่าวทางโรงเรียนก็ไม่อยากได้เช่นกัน
เพราะเห็นว่าไม่ได้ขอและดูไม่ชอบมาพากล แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร
เพราะผู้บังคับบัญชาสั่งมา� อดีตกรรมการโรงเรียนกล่าว
ด้าน นายธีรพงษ์ ศรีเดช
เครือข่ายกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ภาคประชาชน
กล่าวว่า กำลังรวบรวมหลักฐานการก่อสร้างสนามฟุตซอลกลางแจ้งใน 40
โรงเรียนสังกัด สพป.อุตรดิตถ์ เขต 1 เพื่อร้องเรียนต่อ ป.ป.ช.
และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
เพราะมั่นใจว่าน่าจะมีการทุจริตเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
โดยเฉพาะการฮั้วล็อกบริษัทก่อสร้างและใช้วัสดุไม่มีมาตรฐาน นอกจากนี้
การที่โรงเรียนทั้ง 40 แห่ง นำสนามบาสเกตบอลและสนามวอลเลย์บอล
ซึ่งขึ้นบัญชีเป็นทรัพย์สินของโรงเรียน
และไม่มีการจำหน่ายออกจากรายการบัญชีทรัพย์สินของโรงเรียน
มาสร้างเป็นสนามฟุตซอลกลางแจ้ง
โดยนำแผ่นพลาสติกคล้ายกับที่ทำตะกร้ามาปูพื้นทับสนามบาสเกตบอลและวอลเลย์บอล
ดังกล่าว ทำให้ทรัพย์สินส่วนนี้หายไปทันที
ซึ่งประเด็นปัญหานี้ทางสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาค
รัฐ (ป.ป.ท.) จะต้องตรวจสอบว่าเป็นการกระทำผิดหรือไม่ด้วย
ที่ จ.มุกดาหาร นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนนวมินทราชูทิศอีสาน
อ.เมืองมุกดาหาร คนหนึ่ง เปิดเผยว่า
สนามฟุตซอลของโรงเรียนมีสภาพพื้นคอนกรีตพังแตกร้าว
ปัจจุบันถูกใช้เป็นสถานที่ให้นักเรียนเข้าแถวเคารพธงชาติหน้าเสาธงเท่านั้น
โดยทางโรงเรียนได้แจ้งให้นักเรียนทราบว่า
ไม่สามารถใช้เล่นฟุตซอลหรือกิจกรรมกีฬาอย่างอื่นได้
เนื่องจากอาจทำให้พื้นคอนกรีตแตกร้าวมากยิ่งขึ้นจนอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บได้
วันเดียวกันนี้ นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์
เลขาธิการภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ (ภตช.) และคณะ
เดินทางตระเวนตรวจสอบสนามฟุตซอลโรงเรียนในพื้นที่ จ.อำนาจเจริญ อาทิ
ที่โรงรียนอนุบาลหัวตะพาน อ.หัวตะพาน โดยนายมงคลกิตติ์กล่าวว่า
จากการตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างสนามฟุตซอลทั้งจังหวัดพบว่า
ใช้งบสร้างสนามละ 2.5 ล้านบาท และ 5 ล้านบาท
โดยดำเนินการส่อไปในทางทุจริตหลายจุด
โดยเฉพาะรายการยางปูพื้นสนามมีราคาสูงกว่าราคาซื้อขายตามท้องตลาดมากถึง
500%
การเคาะราคาประมูลแบบอีออคชั่นไม่เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย
การพัสดุ และมีพิรุธเคาะราคาต่ำกว่าราคากลางน้อยมาก
ส่อว่ามีการฮั้วประมูลงานชัดเจน ทั้งนี้ จากการตรวจสอบในหลายจังหวัดเห็นว่า
โรงเรียนเป็นเหยื่อ
จึงขอแนะนำผู้อำนวยการโรงเรียนไปแจ้งความกับพนักงานสอบสวนท้องที่เกิดเหตุ
ไว้เป็นหลักฐาน ว่าข้อเท็จจริงของเรื่องนี้เป็นอย่างไร
แล้วนำเอาสำเนาใบแจ้งความไปแนบกับสำนวนการสอบสวนของ ป.ป.ท. และ สตง.
ก็อาจจะทำให้พ้นผิดได้
ที่ จ.อุบลราชธานี นายจำรูญศักดิ์ จันทรมัย อายุ 44 ปี ผู้รับเหมาใน
จ.อุบลราชธานี เปิดเผยว่า ได้ให้ข้อมูลการก่อสร้างสนามฟุตซอลใน
จ.อุบลราชธานี กับ ภตช.ว่า การก่อสร้างสนามฟุตซอลใน จ.อุบลราชธานี
ไม่ได้มีแต่งบแปรญัตติของ
ส.ส.ผ่านทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
นำมาสร้างในโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังมีงบแปรญัตติของ
ส.ส.ที่เป็นงบอุดหนุนเฉพาะกิจปี 2556 ที่ให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(อบจ.) อุบลราชธานีดำเนินการก่อสร้างสนามฟุตซอลอีก 84 สนาม ใน 3 อำเภอด้วย
ให้งบสนามละ 2.5 ล้านบาท โดยมีการล็อกสเปกเหมือนกับงบที่สร้างในโรงเรียน
ผู้รับเหมาในพื้นที่ไม่มีสิทธิในการยื่นซองประกวดราคา ซึ่งทาง
ภตช.รับที่จะตรวจสอบงบสร้างผ่าน อบจ.ดังกล่าวต่อไปด้วย
ที่ จ.นครราชสีมา คณะทำงานของ ป.ป.ท.คนหนึ่ง เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่
ป.ป.ท.ได้ออกตรวจสอบสนามฟุตซอลทางกายภาพ
และเอกสารเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้ให้เอกสารที่
แสดงว่ามีโรงเรียนใดบ้างได้รับงบแปรญัตติมาสร้างสนามฟุตซอลเจ้าหน้าที่จึง
ต้องประสานไปยังเขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 7 เขตใน จ.นครราชสีมา
ให้ส่งรายชื่อโรงเรียนในพื้นที่ทั้งหมด และโรงเรียนที่ได้รับงบสร้างมาให้
ป.ป.ท.ตรวจสอบอีกครั้ง
ที่มาภาพและข่าวจาก มติชนออนไลน์ วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2557 |
โพสเมื่อ :
20 ต.ค. 57
อ่าน 1586 ครั้ง คำค้นหา :
|
|