![]() |
สวัสดีค่ะ
เพื่อนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกท่าน ในฉบับที่ผ่านๆ มา
ได้พูดคุยกับท่านเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาในการดำเนินการทาง
วินัยแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาที่กระทำผิดวินัย หากละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่
ถือว่าท่านกระทำผิดวินัย ตามมาตรา 95
แห่งพระราชบัญญัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ดิฉันขอเรียนว่า ที่ผ่านๆ มา ยังมีบ้างท่านดำเนินการไม่ถูกต้องตามขั้นตอนและวิธีการอันเป็นสาระสำคัญตาม ที่กฎหมายกำหนด จึงอยากเรียนย้ำหรือทบทวนว่า กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนดขั้นตอนและวิธี การที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการทางวินัยและการพิจารณาโทษ ดังนี้ 1) การสืบสวน คือ กระบวนการเบื้องต้นเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริง ว่ากรณีที่มีการกล่าวหานั้นมีมูลเป็นความผิดวินัยหรือไม่ ถ้าไม่มีมูลเป็นความผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาจึงจะยุติเรื่องได้ (มาตรา 95) แต่หากกรณีมีมูลเป็นความผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาก็จะต้องดำเนินการทางวินัยทันที โดยแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยไม่ร้ายแรงหรืออย่างร้ายแรงแล้วแต่กรณีต่อ ไป (มาตรา 98) 2) การสอบสวน คือ การรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อแสวงหาความจริงในเรื่องที่มีการกล่าวหา ในอันที่จะพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกล่าวหา เพื่อให้การดำเนินการทางวินัยเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม 3) การพิจารณาความผิดและการกำหนดโทษ คือ การที่ผู้มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดวินัยใน กรณีใดตามมาตราใด สมควรลงโทษในสถานใด ใครเป็นผู้มีอำนาจในการสั่งลงโทษ และมีกฎหมายให้อำนาจในการลงโทษได้หรือไม่ ซึ่งเมื่อพิจารณาความผิดและกำหนดโทษแล้ว ผู้มีอำนาจสั่งโลงโทษก็จะสั่งลงโทษไปตามนั้น 4) การรายงานการดำเนินการทางวินัย (กรณีที่ผู้ถูกลงโทษไม่อุทธรณ์คำสั่งลงโทษ) คือ กระบวนการต่อเนื่องจากการพิจารณาความผิดและการกำหนดโทษ เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปหรือองค์กรผู้มีอำนาจพิจารณาทบทวนและ ตรวจสอบการใช้อำนาจ ตลอดจนดุลพินิจในการลงโทษของผู้บังคับบัญชาว่าถูกต้องเหมาะสมหรือไม่เพียงใด โดยมีอำนาจเปลี่ยนแปลงการลงโทษ ทั้งการปรับบทความผิดและระดับโทษให้เบาลงหรือหนักขึ้นได้ ในครั้งนี้ขอยกตัวอย่างกรณีที่ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง คณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงสอบสวนแล้วเห็นว่า เรื่องที่สอบสวนนั้น พฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหาเป็นเพียงความผิดวินัยไม่ร้ายแรง และผู้บังคับบัญชาผู้สั่งแต่งตั้งกรรมการสอบสวนพิจารณาแล้วเห็นชอบตามที่ กรรมการสอบสวนเสนอ กรณีนี้ยังมีผู้บังคับบัญชาบางท่านดำเนินการไม่ถูกต้องตามขั้นตอนและวิธีการ อันเป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนด โดยสั่งผิดหลงให้เสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณา มีมติแล้วจึงสั่งลงโทษ ซึ่งไม่ถูกต้องนะคะ ที่ถูกต้องคือ หากผู้บังคับบัญชาผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนว่าเป็นโทษวินัยไม่ร้าย แรง ท่านต้องสั่งลงโทษตามอำนาจของท่านตามมาตรา 100 วรรคหนึ่ง ประกอบกับกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยอำนาจการลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน พ.ศ.2549 เสียก่อน แล้วจึงรายงานการลงโทษไปยัง อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา และ ก.ค.ศ.ตามลำดับ (มาตร 104 (2)) แต่ถ้าท่านเห็นต่างกับคณะกรรมการสอบสวน โดยเห็นว่าเป็นโทษวินัยอย่างร้ายแรง ซึ่งจะต้องลงโทษปลดออกหรือไล่ออก ท่านจะต้องดำเนินการตามมาตรา 100 วรรคสี่ (2) โดยสั่งการให้นำเสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาของผู้ถูกกล่าวหาพิจารณามีมติเสียก่อน แล้วจึงสั่งลงโทษตามนัยมติ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาดังกล่าว แล้วรายงานโทษไปยัง ก.ค.ศ. ตามมาตรา 104 (2) ต่อไป เรื่องที่นำมาคุยกันในวันนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่เพื่อนครูบ้างนะคะ แล้วพบกันใหม่วันจันทร์หน้าค่ะ ศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการ ก.ค.ศ. |
โพสเมื่อ : 23 ม.ค. 58 อ่าน 1619 ครั้ง คำค้นหา : |