ร้องป.ป.ง.สอบโครงการฌาปนกิจฯช่วยเพื่อนครู




เมื่อ วันที่ 27 พ.ค.เวลา 13.30 น.ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) นายสงกานต์ อัจฉริยะทรัพย์ ประธานเครือข่ายต่อต้านการบ่อนทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ พร้อมด้วยตัวแทนครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา ประมาณ 20 คน เดินทางเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนจากครู อาจารย์ทั่วประเทศกว่า 6,000 ฉบับ ต่อพ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการ ปปง. เพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบการทุจริตโครงการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเหลือเพื่อน ครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายกว่า 5,000 ล้านบาท

นายสงกานต์ กล่าวว่า ขอให้ ปปง. ดำเนินการตรวจสอบสถานะการเงิน ทรัพย์สินของบุคคล นิติบุคคลในโครงการกู้เงิน ช.พ.ค. เช่น ผู้ประกอบการสินเชื่อธนาคาร ผู้ประกอบการรับประกันภัย นายหน้าประกันวินาศภัยหรือประกันภัยรายนี้ ผู้บริหารต้นสังกัด ผู้อำนวยการ และบุคคลากรที่เกี่ยวข้องเห็นชอบและอุมัติโครงการดังกล่าว ภายหลังที่บุคคลากรทางการศึกษา ได้กู้เงินในโครงการ ช.พ.ค. โดยขอสินเชื่อจากธนาคารในการกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง และได้บังคับให้ทำประกันสินเชื่อโดยไม่มีการส่งมอบกรมธรรม์ให้ ต่อมาพบว่าประกันสินเชื่อดังกล่าวเป็นประกันอุบัตติเหตุและสุขภาพ ทั้งนี้ มีบุคลากรทางการศึกษาร่วมโครงการดังกล่าวกว่า150,000ราย วงเงินรวมประมาน 5,000 ล้านบาท

นายสงกานต์ กล่าวต่อว่า การร้องเรียนในวันนี้ เนื่งอจากตนได้รับหนังสือร้องเรียนจากข้าราชการครูทั่วประเทศ ผ่านตู้ ปณ.63 ราษฎร์บูรณะ กทม.10140 ให้ช่วยตรวจสอบโครงการ ช.พ.ค. ว่า มีความโปร่งใส่หรือไม่ ซึ่งภายหลังมีธนาคารในการกำกับรัฐแห่งหนึ่งที่เป็นผู้ให้กู้เงินในโครงการ ช.พ.ค. แล้วบังคับให้ครูผู้กู้ซื้อประกันสินเชื่อจากวงเงินที่กู้ โดยเรียกเก็บเบี้ยประกันล่วงหน้า 9-10 ปี และหักเงินจากยอดที่กู้ แต่เมื่อตรวจสอบไปที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ซึ่งเลขาธิการ คปภ. ระบุว่า บริษัทประกันภัยดังกล่าวเคยมาขอความเห็นชอบในการคิดเบี้ยประกันระหว่าง 9-10 ปีแต่เป็นการประกันอุบัติเหตุ ไม่ใช่ประกันสินเชื่อตามที่ได้จดแจ้งไว้แก่ผู้กู้หรือผู้เอาประกันแต่อย่าง ใด อีกทั้ง ยังไม่มีการส่งมอบกรมธรรม์แก่ผู้เอาประกัน เบื้องต้นมีเข้าร่วมโครงการดังกล่าวกว่า 150,000 ราย วงเงินรวมประมาณ 2,000-4,000 ล้านบาท
      
ด้าน พ.ต.อ.สีหนาท กล่าวว่า ตนจะรับเรื่องร้องเรียนดังกล่าวไว้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลและพยานหลักฐษาน ต่างๆ พร้อมทั้งประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากพบว่าเข้าข่ายความผิดตามกฎหมายฟอกเงิน ทาง ปปง. ก็จะดำเนินการต่อไป เพื่อช่วยเหลือและเยียวยาความเดือดร้อนของประชาชน ทั้งนี้ ปปง. ต้องขอเวลาในการดำเนินการตรวจสอบก่อน เนื่องจากมีผู้เสียหายเป็นจำนวนมาก.

 

 

ที่มาจาก โพสต์ทูเดย์ วันที่ 27 พฤษภาคม 2558


โพสเมื่อ : 27 พ.ค. 58   อ่าน 1394 ครั้ง      คำค้นหา :