เอกชนจี้ปรับทัศนคติ ’อาชีวะ’ ใหม่ หลังวิกฤตขาดช่างปีละ 2 แสนคน
เอกชนจี้ปรับทัศนคติ 'อาชีวะ' ใหม่ หลังวิกฤตขาดช่างปีละ 2 แสนคน
มูลนิธิ เอสซีจี จับมือหอการค้าไทย ส.อ.ท. และ สอศ.ยกระดับนักเรียนอาชีวะเป็น ฝีมือชน จี้ถึงเวลาปรับเปลี่ยนทัศนคติด้านการศึกษาใหม่ให้มุ่งเน้นเรียนอาชีวะแทนปริญญาตรี เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับเปิด AEC ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ชี้จบด้านอาชีวะมีโอกาส เป็นเจ้าของธุรกิจมากกว่าคนที่จบปริญญาตรี วานนี้ (28 ส.ค.) มูลนิธิ เอสซีจี ร่วมกับหอการค้าไทย และสภาหอกาค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.) เปิดตัวโครงการ ฝีมือชน คนสร้างชาติ พร้อมเสวนาเส้นทางความสำเร็จ ของบุคลากรสายอาชีวะ เพื่อเตรียมพร้อมก่อนเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) โดยยกย่องนักเรียนอาชีวะเป็น ฝีมือชน สร้างความรู้สึกภาคภูมิใจมีศักดิ์มีศรีเทียบเท่าปัญญาชน นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรม- การผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ ไทย จำกัด (มหาชน)(SCC) ในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิเอสซีจี กล่าวว่า ขณะนี้ไทยมีปัญหาการพัฒนาประเทศเนื่องจากขาดแคลนช่างฝีมือ สืบเนื่องจากทัศนคติของผู้ปกครองที่คาดหวังให้บุตรหลานจบวุฒิปริญญาตรีทั้งๆ ที่ตลาดต้อง การคนเรียนจบสายอาชีวะ นอกจากนี้ การเรียนสายอาชีวะยังมีข้อดีที่เห็นชัดเจนมากมายไม่ว่าจะเรียนที่จบแล้วมีงานทำ ไม่มีการตกงานเหมือนวุฒิปริญญาตรีที่พบว่าแต่ละปีมีบัณฑิตตกงานปีละกว่า 1 แสนคน และระหว่างการทำงานไปก็สามารถเรียนต่อวุฒิปริญญาตรีควบคู่กันไปด้วย ซึ่งพบว่าคนที่จบสายอาชีวะมีโอกาสที่พลิกผันตัวเองเป็นเจ้าของธุรกิจ ขณะที่รายได้จากผู้ที่จบอาชีวะนั้น ก็ไม่ได้ต่ำเมื่อเทียบกับวุฒิปริญญาตรีเหมือนในอดีต เนื่องจากความต้องการของตลาดและยังมี รายได้เสริมจากการทำงานล่วงเวลา (โอที) ทำให้รายได้สูงกว่าผู้ที่จบปริญญาตรีอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันไทยขาดแคลนช่างอุตสาหกรรมทุกแขนงไม่ว่าช่างกล ช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างเชื่อม จึงอยากแนะนำให้ผู้ที่สนใจสายงานอาชีพหันมาเรียนด้านนี้ ซึ่งปัจจุบันก็มีทุนสนับสนุนการเรียนเป็นจำนวนมาก รวมทั้งมูลนิธิเอสซีจีก็มีทุนให้นักเรียน ที่ต้องการเรียนต่อ ปวช.สาขาช่างอุตสาหกรรมและสื่อสารด้วย นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานส.อ.ท. กล่าวว่า เมื่อไทยต้องการเป็นฮับด้านอุตสาหกรรม ทำให้มีความต้องการบุคลากรสายช่างเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยหลังเปิด AEC ขณะที่ไทยยังขาดแคลนบุคลากรสายช่างต่างๆ ปีละ 1.9-2 แสนคน โดยสาขาที่ต้อง การมากที่สุด คือสาขาช่างกลโรงงาน ช่างเชื่อม ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แมคคาทรอนิกส์และแม่พิมพ์ เป็นต้น
ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการรายวัน |
โพสเมื่อ :
29 ส.ค. 57
อ่าน 1460 ครั้ง คำค้นหา :
|
|