![]() |
ราชบัณฑิตยสถานเปิดรับฟังความเห็นเพื่อจัด
ทำแผนยุทธศาสตร์นโยบายภาษาแห่งชาติ
ชี้การยอมรับภาษาแม่ของทุกชาติพันธุ์มีส่วนเอื้อต่อการสร้างความปรองดอง
แต่การสอนภาษาไทยกลางที่เริ่มจากไวยากรณ์ผิดธรรมชาติการเรียนรู้ของมนุษย์
ที่ต้องเริ่มจากฟัง พูด อ่าน เขียน แนะทบทวนตำราใหม่
แต่ไม่ใช่ขุดตำราเก่ามาใช้ เพราะบริบทสังคมเปลี่ยนไปแล้ว จากการประชุมรับฟังความคิดเห็นแผนยุทธศาสตร์นโยบายภาษาแห่งชาติ
จัดโดยราชบัณฑิตยสถาน เมื่อวันที่ 24 พ.ย. ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์
นางจิราพร บุนนาค ประธานคณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ตามนโยบายภาษาแห่งชาติ
กล่าวว่า ในประเทศไทยมีหลายชาติพันธุ์
ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีภาษาแม่ที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์และวัฒนธรรมของตนเอง เช่น
คนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีภาษามลายูปาตานีและใช้อักษรยาวีเป็นภาษาแม่
ส่วนภาคอื่นๆ ก็มีทั้งภาษาไทยถิ่นเหนือ ไทยถิ่นอีสาน ไทยถิ่นใต้
ไทยถิ่นกลาง แม้แต่คนพิการทางการได้ยินก็มีภาษามือเป็นภาษาแม่
ดังนั้นการมีนโยบายภาษาแห่งชาติที่ให้ความสำคัญและให้การยอมรับการใช้ภาษา
แม่ของกลุ่มต่างๆ จะทำให้ทุกกลุ่มเกิดความรู้สึกที่ดี เช่น
กรณีปัญหาภาคใต้ที่ปัจจุบันส่งเสริมให้เด็กเรียนภาษามลายูปาตานีควบคู่กับ
ภาษาไทย
ทำให้ผู้ปกครองที่ใช้ความรุนแรงหรือเกือบจะใช้ความรุนแรงเพราะเคยรู้สึกว่า
ถูกกดทับอัตลักษณ์รู้สึกสบายใจขึ้น
การปลดล็อคเงื่อนไขดังกล่าวจึงมีส่วนเอื้อต่อการสร้างความปรองดองในชาติ
ที่มา เดลินิวส์ วันจันทร์ 24 พฤศจิกายน 2557 |
โพสเมื่อ : 25 พ.ย. 57 อ่าน 1308 ครั้ง คำค้นหา : |