ดาว์พงษ์ จี้สอศ.ทำฐานข้อมูลกำลังคนขาดแคลน
ขีดเส้นต.ค.นี้ต้องเห็นก่อนวางแผนยุทธศาสตร์เร่งด่วน-ระยะยาว/ชูความเป็นเลิศแต่ละวิทยาลัย ภาคเอกชนขอร่วมปรับปรุงหลักสูตร
ที่วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี เมื่อวันที่ 17 ก.ย.58 พล.อ.ดาว์พงษ์
รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ
เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อ
พัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา
เพื่อสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากำลังคน
อาชีวศึกษา(อ.กรอ.อศ.) โดยมีพล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ
ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการ กอศ. ผู้บริหารสถาบันอาชีวศึกษา
และภาคเอกชนเข้าร่วม ว่าได้ขอให้ สอศ.ไปสำรวจตัวเลขความขาดแคลน
ในแต่ละสาขาวิชาชีพอีกครั้ง
เพราะปัจจุบันฐานข้อมูลความขาดแคลนในแต่ละสาขาของอาชีวศึกษายังไม่นิ่งและ
ไม่ชัดเจน ซึ่งฐานข้อมูลเหล่านี้ต้องนำมาวางแผนการผลิต
และที่ผ่านมาสอศ.ก็ผลิตตามขีดความสามารถแต่ยังไม่ตอบโจทย์ความต้องการที่แท้
จริง
"ผมขอให้คณะกรรมการใน กรอ.อศ.ไปประสานภาคเอกชน
ขอฐานข้อมูลตัวเลขที่ขาดแคลนมาให้ได้ภายในกลางเดือน ต.ค.นี้
เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณา
เนื่องจากจากข้อมูลเหล่านี้จะมีผลต่อการเสนอของบประมาณและการวางแผน
ยุทธศาสตร์การดำเนินการทั้งระยะเร่งด่วนและระยะยาว และภายในสิ้นปี 58
จะต้องเห็นภาพว่าจากนี้จนถึงเดือน ก.ย.59 จะผลิตกำลังคนในสาขาใดบ้าง
รวมถึงจะต้องมีแผนระยะยาวเพื่อส่งต่อให้รัฐบาลใหม่ว่า อีก 4
ปีจะต้องเร่งผลิตกำลังคนในสาขาใด
โดยทั้งหมดจะต้องสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ และสถานประกอบการ"
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวและว่า
ส่วนการจัดตั้งสมาพันธ์เทคนิคและอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมแห่งภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ หรือ สมาพันธ์ SEA-TVET นั้น
ตนเห็นว่ามีประโยชน์เพราะเป็นความร่วมมือของอาเซียน
ซึ่งตรงกับนโยบายของรัฐบาล
ซึ่งต้องใช้เวทีนี้ให้เกิดประโยชน์กับประเทศไทยและประเทศอาเซียน ดังนั้น
ต้องกลับมาดูด้วยว่าเราจะต้องผลิตกำลังคนให้เข้มแข็งสู้กับประเทศอื่นได้
ด้วย
ซึ่งเรื่องนี้จึงอยากให้อาชีวศึกษาไปจัดทำข้อมูลที่ชัดเจนกลับมาให้ดูอีก
ครั้ง
พล.อ.ดาว์พงษ์ กล่าวต่อไปว่า
นอกจากนี้ตนยังมีแนวคิดว่าทำอย่างไรจึงจะให้วิทยาลัยอาชีวศึกษา
ดึงความโดดเด่นของตัวเองออกมาเพื่อชูความเป็นเลิศ
และให้กระจายในทุกภูมิภาคเพื่อให้เด็กได้เลือก
ด้านนายถาวร ชลัษเฐียร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ประธานอนุกรรมการกรอ.อศ. กลุ่มอาชีพยานยนต์และชิ้นส่วน กล่าวว่า
ขณะนี้การผลิตช่างเทคนิคยังไม่ตรงกับภาคการผลิต
ซึ่งทางสภาอุตสาหกรรมก็พยายามบอกให้ผลิตให้พอเพียง
ส่วนครูก็ขอให้ปรับปรุงวิธีการเรียนการสอน
และที่พบปัญหามากก็คือเรื่องหลักสูตรที่ครูจะจัดหลักสูตรตามความคิดของ
อาจารย์ ซึ่งไม่ค่อยตรงกับความต้องการของภาคเอกชน
ซึ่งเรื่องนี้ภาคเอกชนก็ต้องเข้าไปร่วมปรับปรุงแก้ไขด้วย
ที่มา สยามรัฐ วันที่ 17 กันยายน 2558 |
โพสเมื่อ :
18 ก.ย. 58
อ่าน 1548 ครั้ง คำค้นหา :
|
|