สมศ.ชูโมเดลจิตอาสาพัฒนา ’ซ่อมสร้างเสริมสอนศิลป์’ พัฒนาสถานการศึกษาห่างไกล
สมศ.ชูโมเดลจิตอาสาพัฒนา 'ซ่อมสร้างเสริมสอนศิลป์' พัฒนาสถานการศึกษาห่างไกล
สมศ. นำเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ร่วมกิจกรรมค่ายอาสาพัฒนาสถานศึกษาในถิ่นทุรกันดาร ปลูกจิตอาสา รับผิดชอบสังคม นำร่องที่โรงเรียนบ้านปางไม้แดง อ.แต่แตง จ.เชียงใหม่ เป็นแห่งแรก ดึงสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ ผู้บริหารโรงเรียน นิสิต นักศึกษา ผู้เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมบูรณาการความร่วมมือโดยใช้ผลการประเมินไปพัฒนา ผ่านกิจกรรม ซ่อม สร้าง เสริม สอน ศิลป์ หวังผลผลิตคู่มือจัดค่ายอาสา ใช้เป็นแม่แบบ ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ สถานศึกษา(องค์การมหาชน) หรือ สมศ.กล่าวว่า จากผลการประเมินคุณภาพสถานศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ.กล่าวว่า จากผลการประเมินคุณภาพภายนอกที่ผ่านมา ทั้งสามรอบ พบว่าสถานศึกษาในท้องถิ่นทุรกันดาร ในหลายจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งมีประมาณ 14,000 แห่ง ที่ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานมีเป็นจำนวนมาก ด้วยข้อจำกัดและขาดควมพร้อมทางด้านการศึกษาในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นจำนวนครูผู้สอน ห้องเรียนที่ขาดแคลน สื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอน หรือในบางโรงเรียนมีอุปกรณ์การเรียนการสอนแต่ชำรุดใช้การไม่ได้ หรือครูผู้สอนและผู้บริหารโรงเรียนยังขาดทักษะและความรู้ในการบริหารจัดการพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพในทุกๆ ด้าน จึงได้จัดค่ายอาสาพัฒนาสถานศึกษาในถิ่นทุรดันดารขึ้น โดยคัดเลือกโรงเรียนบ้านปางไม้แดง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ โรงเรียนขนาดกลาง อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานการศึกษาเชียงใหม่เขต 2 โดยมีหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน สื่อมวลชน เจ้าหน้าที่จาก สมศ. เจ้าหน้าที่จากมูลนิธิศิลปะเพื่อมวลมนุษย์ (Art for All Foundation) และองค์การนิสิต นักศึกษา ของสถาบันการศึกษาต่างๆ ใน จ.เชียงใหม่และกรุงเทพฯ โรงเรียนและสถานศึกษาในโครงการ 1 ช่วย 9 รวมถึงประชาชนในท้องถิ่น มาร่วมจัดกิจกรรมร่วมกันเป็นเวลา 3 วัน 2 คืน จัดกิจกรรมแบ่งเป็นฐานกิจกรรม ซ่อม สร้าง เสริม สอน ศิลป์ โดยกิจกรรมในแต่ละฐานจะมีความสำคัญที่แตกต่างกัน ฐานซ่อม คือ การซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้าง เช่น การทาสีรั้วโรงเรียนการปรับปรุงสนามเด็กเล่น ปรับปรุงห้องสุขาที่มีอยู่ให้กลับมาใช้ได้ดังเดิม โดยมีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ดูแล ฐานสร้าง คือการทำซุ้มหน้าประตูสลับทางเข้าออก ปรับปรุงภูมิทัศน์ของโรงเรียนโดยรอบ กิจกรรมนี้ได้รับความร่วมมือจากคณาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาฐานเสริม เป็นการระดมและจัดหาทรัพยากรต่างๆ มาสนับสนุน เช่น คอมพิวเตอร์ หนังสือ อุปกรณ์กีฬา โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนในกรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังมีการให้บริการซ่อมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ให้โรงเรียนด้วย ฐานสอน คือการจัดห้องเรียน 3 ห้องเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริหาร ครูอาจารย์ได้เข้าร่วมรับฟังและเสวนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น จัดทำห้องสมุดและพัฒนาห้องสมุดใหม่ โดยเติมเต็มเพิ่มหนังสือที่ดี ที่ได้รับการบริจาคและจัดสรรเพิ่มเติมจาก สมศ. เอง รวมถึงหน่วยงานต่างๆ อย่างพร้อมสรรพ และ สมศ.จะจัดทำคู่มือ Best Practice แนวทางการทำงานในอนาคตด้วย
--คมชัดลึก ฉบับวันที่ 10 มิ.ย. 2557 (กรอบบ่าย)-- |
โพสเมื่อ :
10 มิ.ย. 57
อ่าน 1299 ครั้ง คำค้นหา :
|
|