![]() |
การศึกษาไทยในอาเซียน เลาะเลียบคลองผดุงฯ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทกระทรวงศึกษาธิการ คงปฏิเสธถึงความรับผิดชอบเรื่องนี้ไปไม่ได้
ขออนุญาตนำบทคัดย่อจากวิจัย เรื่อง ความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยในประชาคมอาเซียน The Challenge and Opportunity of Thai Education In ASEAN Economic Community ของ อรุณี เลิศกรกิจจา มหาวิทยาลัยนานาชาติ แสตมฟอร์ด โดยสรุปความส่วนหนึ่งมาให้เห็น
พบว่ามีเพียงเงื่อนไขเดียว คือ การผลิตยังอยู่ในเกณฑ์ด้อยทั้งด้านทรัพยากรความรู้และทรัพยากรมนุษย์ ไล่ไปถึงด้านภาพรวมสมรรถนะด้านการศึกษา และความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ อาจสรุปได้ว่า การศึกษาของประเทศยังมีความสามารถในการแข่งขัน แต่ต้องวางแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติงานที่เป็นรูปธรรมและปฏิบัติได้จริง โดยเริ่มต้นทันทีตั้งแต่บัดนี้
ดังนั้น การคิดฝันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษา (Education Hub) นอกจากต้องปรับเปลี่ยนปรัชญาการศึกษาแล้ว การเพิ่มทักษะด้านภาษายังมีความจำเป็นเช่นกัน
นอกจากนี้ อุดมศึกษาในอาเซียนจะกลายเป็นภาคธุรกิจขนาดใหญ่และไร้พรมแดน เพื่อตอบสนองการเปิดเสรีการศึกษาทั้งในกรอบอาเซียนและการค้าโลก ต้องเข้าสู่การแข่งขันในการให้บริการและมาตรฐาน ที่ต้องเข้าสู่ความเป็นนานาชาติและ World Class University ตามระบบและรูปแบบของยุโรปและอเมริกา
แต่จากผลการจัดอันดับของ IMD ภาพรวม พบว่าไทยได้อันดับที่ 26 อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง สมรรถนะด้านการศึกษา ภาพรวมไทยถูกจัดอยู่ในอันดับ 47 อยู่ในเกณฑ์ด้อยคุณภาพ เพราะความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของไทยด้อยมาก โดยอยู่ในอันดับที่ 54
การตอบสนองความสามารถในการแข่งขันของระบบการศึกษาไทยพบถูกจัดอันดับที่
32 หรืออยู่ในระดับค่อนไปทางด้อย
ส่วนการจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการภาคธุรกิจ ไทยอยู่ในอันดับที่ 30
หากจะกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ
ผลิตคนไม่ตรงกับความต้องการทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
|
โพสเมื่อ : 14 ธ.ค. 58 อ่าน 1453 ครั้ง คำค้นหา : |