![]() |
ความจริงของปัญหา เลาะเลียบคลองผดุงฯ
ขณะที่การทำงานของสมศ. อยู่ในสภาพเพลี่ยงพล้ำอย่างหนัก ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในการทำหน้าที่จากหลายฝ่ายในสังคมการศึกษา ถึงขนาดเรียกร้องให้ยุบเลิกหน่วยงานกันไปเลย การเปิดผลวิจัยครั้งนี้เท่ากับเป็นการตอกย้ำให้หนักแน่นชนิดยากจะถอนได้โดย ง่าย
ก่อนความร้าวฉานจะบานปลายไปมากกว่านี้ ชอบแล้วที่มีคนกลางเข้ามาเป็นกาวใจถึงความเข้าใจไม่ตรงกันถึงตัวเลข อ้างถึงไม่มีงานวิจัยใดที่สมบูรณ์ จึงไม่ควรเสียเวลากับเรื่องวัน เวลาที่ใช้ไปนั้นมากน้อยเพียงใด
ว่ากันด้วยวิธีคิดนั้น นักวิชาการก็มาแบบนักวิชาการ แต่วิธีการนำเสนอข้อมูลสู่การรับรู้เพื่อนำไปสู่กระบวนการพัฒนาให้เกิด ประโยชน์โดยรวมนั้นทำได้ การแย้งกลับของสมศ.ที่ว่าใช้เวลา แค่ 3 วันต่อวันต่อโรงเรียนไม่ใช่ 9 วันอย่างที่วิจัยระบุ ก็ไม่ผิด นั่นคือ วันเวลาลงพื้นที่ประเมินจริง
แต่เมื่อเอาเวลาคุณครูต้องเตรียมตัวรับมือก่อนสมศ.จะเข้าประเมินย่อมไม่ น้อยกว่า 10 วัน ขณะเดียวกันยังต้องปฏิบัติภารกิจในกิจกรรมนอกชั้นเรียนอื่นๆ อีกมากมายทั้งตามหลักสูตรและ นอกหลักสูตรรวมแล้วไม่น้อยกว่า 43 วัน กลับไม่มีรายละเอียด ให้เห็น นี่คือสิ่งที่ขาดหาย
สมศ.ประเมินเพียง 1 ครั้ง ในรอบ 5 ปี และใช้เวลาแค่ 3 วัน ฐานคิดตรงนี้น่าจะรับฟังได้ และคงไม่ต้องคิดลงพื้นที่ไปรับฟังความทุกข์ครูหรือผู้บริหารว่าจริงหรือไม่ คำตอบล้วนมีอยู่ในใจแล้ว
แต่สิ่งที่ทั้งสองหน่วยงานควรทำ คือหันหน้าเข้าหากันช่วยกันทบทวนตัวชี้วัดต่างๆ ที่นำไปประเมินครั้งต่อไปว่ามีคุณภาพเพียงพอเพื่อช่วยให้การศึกษานำไปสู่การ พัฒนาหรือไม่ และไม่เป็นภาระให้ครูด้วยเช่นกัน
สิ่งหนึ่งที่สมศ.ได้รับการเรียกร้องมาตลอด คือขอให้เลิกใช้หลักเกณฑ์เดียวประเมินคุณภาพสถานศึกษาทั้งประเทศ ซึ่งแต่ละแห่งมีความแตกต่างกันตามบริบทสิ่งแวดล้อมและปัจจัยของพื้นที่ การแบ่งกลุ่มตามประเภทของโรงเรียนน่าสะท้อนความชัดเจนได้ถูกทางกว่า แต่ไม่เคยได้รับการส่งเสียงตอบกลับว่าไง
ก็เพราะสมศ.ไม่เคยให้ความสำคัญต่อความจริงของปัญหา เลยกลายเป็นปัญหาของตัวเองที่มองไม่เห็น
|
โพสเมื่อ : 26 ม.ค. 58 อ่าน 1302 ครั้ง คำค้นหา : |