การเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism)




      
การเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism)


          การเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญหา (Constructionism) เป็นการจัดการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งของการศึกษาทางเลือกที่มุ่ง สร้างคน ให้มีศักยภาพ ฝึกให้ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการคิด ด้วยการลงมือทำโครงงาน (Project Based Learning) ได้ด้วยตนเอง และเป็นรูปธรรมโดยบูรณาการด้วยวิชาการ เทคโนโลยี ศิลปวัฒนธรรม ศีลธรรม สามารถพัฒนาตนและพัฒนาโครงงานอย่างต่อเนื่อง จนติดเป็นนิสัยใฝ่เรียนรู้ไปตลอดชีวิต
          สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้ส่งเสริมให้สถานศึกษาทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและในภูมิภาคโดยปี ๒๕๕๖ จำนวน ๖ โรงเรียน และปี ๒๕๕๗ จำนวน ๑๕ โรง มีการจัดการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism) เพื่อสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลด้านการศึกษา และสอดคล้องกับการสร้างทักษะการเรียนรู้ที่จำเป็นในโลกศตวรรษที่ ๒๑ แก่นักเรียน
          ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการคิด รู้วิธีที่จะเรียนรู้ สามารถสร้างความรู้ใหม่และโครงงานได้ด้วยตนเอง รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่นเกิดการยอมรับและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนในระดับที่ดีขึ้นตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้ของหลักสูตรการศึกษา
          ที่สำคัญอย่างยิ่งคือ ครูเปลี่ยนบทบาทจากผู้ให้ความรู้ เป็น Facilitator ผู้คอยกระตุ้น ส่งเสริม สร้างแรงจูงใจให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิดและเรียนรู้ร่วมกันผ่านการจัดกิจกรรม ผ่านสื่อธรรมชาติ สื่อใกล้ตัวการตั้งคำถาม การนำเสนอ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ช่วยสร้างบรรยากาศการเรียนรู้
          Prof.Seymour Papert กล่าวว่าการเรียนรู้ที่ดีกว่า ไม่ได้เกิดมาจากการเรียนที่ครูค้นพบวิธีการสอนที่ดีกว่า แต่เกิดจากการที่ครูได้ให้โอกาสที่ดีกว่าแก่ผู้เรียนให้สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง

          

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน



โพสเมื่อ : 17 ก.พ. 57   อ่าน 2517 ครั้ง      คำค้นหา :