ศธ.ดึงเคมบริดจ์ปรับหลักสูตรวิทย์-คณิต หลัง OECD จัดไทยอยู่อันดับ 47ตามหลังเวียดนาม
ศธ.ดึงเคมบริดจ์ ปรับหลักสูตรวิทย์-คณิต
หลังOECDจัดไทยอยู่อันดับ47ตามหลังเวียดนาม
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ
(ผช.รมต. ประจำ ศธ.) กล่าวว่า
จากการจัดอันดับโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีที่สุดในโลก
ขององค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ OECD ได้
วิเคราะห์ผ่านคะแนนสอบวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ของเด็กอายุ 15 ปี
ซึ่งประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 47 จาก 76 ประเทศ นั้น
ทางกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
จึงร่วมมือกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ติดต่อมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เพื่อเข้ามาร่วมพัฒนาหลักสูตรทั้ง 2 วิชา
ให้มีความทันสมัยมากขึ้น
จะให้ตัดเรื่องที่ไม่จำเป็นออกจากหลักสูตรการเรียนการสอน
ให้เพิ่มความละเอียดของเนื้อหาในสิ่งที่ต้องเรียนรู้และจำเป็น
ขณะนี้ได้มีการติดต่อประสานงานเรียบร้อยแล้ว คาดว่าน่าจะดำเนินการได้ภายใน 1
เดือนนี้
นพ.ธีระเกียรติ กล่าวต่อว่า หาก ศธ.
เริ่มที่จะมีการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
จะต้องมีการปรับตำราเรียนใหม่ให้มีคุณภาพมากขึ้น
อบรมครูไม่ให้สอนเฉพาะในหนังสือเท่านั้น
พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้องไปกับการพัฒนา
รวมไปถึงเรื่องการประเมินผลการทดสอบ จะต้องเน้นในทางคิดวิเคราะห์
อาจจะมีการปรับให้ใช้ข้อสอบแบบข้อเขียนมากขึ้น
เพราะหากแบบทดสอบยังเป็นแบบเดิม จะทำให้การปรับเปลี่ยนทั้งหมดไม่เกินผล
ครูหรือสถาบันกวดวิชา
ก็ยังคงต้องสอนในรูปแบบที่จะมารองรับแบบทดสอบในลักษณะเดิม ๆ ทั้งนี้
การเข้ามาของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ไม่ได้เข้ามาเพื่อปรับหลักสูตรให้ทั้งหมด
แต่เข้ามาศึกษาตัวหลักสูตร และแนะนำเสริมแต่งส่วนที่ ศธ.
ยังขาดตกอยู่เท่านั้น และยังเข้ามาดูในส่วนของแบบทดสอบทั้ง 2 วิชา
ว่าเป็นไปในรูปแบบที่จะสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์ให้เด็กหรือไม่
"สำหรับเรื่องการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร มีระยะเวลาในตัวเองอยู่แล้ว
ซึ่งการดำเนินการเรื่องนี้ ถือเป็นการทบทวนหลักสูตร เพื่อปรับเล็ก
ทำให้หลักสูตรที่ดีอยู่แล้วดีขึ้นไปอีก ปรับสิ่งต่าง ๆ
เพื่อสร้างกระบวนการคิดของเด็ก ผมคิดว่าการเน้นให้เด็กได้ทำข้อสอบแบบเขียน
จะทำให้เด็กได้ฝึกกระบวนการคิดไปในตัว หรือจะใช้ข้อสอบในแบบที่ สสวท.
กำลังใช้อยู่ ซึ่งเป็นข้อสอบแบบมีตัวเลือก
แต่จะมีช่องให้เติมเหตุผลของผู้สอบ ว่าทำไมถึงเลือกข้อนั้น
ถือเป็นเรื่องที่ดีในการเริ่มต้น เพราะข้อสอบแบบตัวเลือก
ไม่ใช่เรื่องที่ไม่ดี แต่ต้องใส่การคิดวิเคราะห์ลงไปด้วย" ผช.รมต.ประจำศธ.
กล่าว
ที่มา: แนวหน้า |
โพสเมื่อ :
18 พ.ค. 58
อ่าน 1674 ครั้ง คำค้นหา :
|
|