ศธ.สั่งองค์กรหลัก-หน่วยงานกำกับจัดอีเวนต์เกิน 1 ล.ต้องรายงาน รมว.ศึกษา ก่อน
ศธ.ออกประกาศแจ้งองค์กรหลัก จัดอีเวนต์เกินล้านต้องขออนุมัติจาก รมว.ศธ. เตรียมเผยแพร่ประกาศให้องค์กรหลักและหน่วยงานรับทราบ
วันนี้ (7 พ.ค.) พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิด
เผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.)
มีนโยบายกำหนดให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของภาครัฐที่จะดำเนินโครงการที่มี
การจัดจ้างให้เอกชนเป็นผู้รับงาน หรือ Organizer (ออแกไนซ์เซอร์) งาน
โฆษณา และงานประชาสัมพันธ์ที่มีวงเงินการจัดจ้างตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป
รายงานให้คณะกรรมการติดตามและติดสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.)
รับทราบก่อนดำเนินการจัดจ้าง และให้ คตร.รวบรวมเสนอให้ ครม.พิจารณานั้น
เพื่อให้การปฏิบัติราชการของ
ศธ.เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีมาตรการกำกับการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
อย่างไรก็ตาม เพื่อรองรับมติดังกล่าว เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้ลงนามในประกาศ
ศธ. เรื่อง มาตรการควบคุมการจัดทำโครงการที่มีการจัดจ้างให้เอกชนจัดงาน งาน
โฆษณาและงานประชาสัมพันธ์ กำหนดให้ทุกหน่วยงานในสังกัด และกำกับของ
ศธ.ดำเนินการตามมาตรการควบคุมการจัดทำโครงการที่มีการจัดจ้างให้เอกชนเป็น
ผู้จัดงานฯ ดังนี้
1.การเสนอและการดำเนินการโครงการที่มีการจัดจ้างเอกชนจะต้องเป็นไปตามความจำ
เป็น และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบการศึกษา
มีความคุ้มค่าและประหยัดงบประมาณ 2.โครงการที่ใช้งบ ประมาณตั้งแต่ 1
ล้านบาทขึ้นไปหรือมีกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่ 100
คนขึ้นไปต้องเสนอขอความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการ ศธ.ก่อนการจัดงาน
และ3.ให้ผู้บริหารของทุกหน่วยงานในสังกัดและในกำกับของ
ศธ.กำกับการปฏิบัติให้เป็นไปตามมติ ครม.และมาตรการที่กำหนด
ด้าน รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัด ศธ. กล่าวว่า
ตนจะนำประกาศดังกล่าวแจ้งเวียนให้องค์กรหลัก ของ
ศธ.ร่วมถึงหน่วยงานในกำกับของ ศธ. รับทราบและปฏิบัติตามประกาศ ทั้งนี้
ในคำสั่งของ ครม.กำหนดให้ใช้งบประมาณในการจัดงานไม่เกิน 5 ล้านบาท แต่ของ
ศธ.ได้กำหนดให้ลดลงเหลือไม่เกิน 1 ล้านบาท
ซึ่งต่อไปหากหน่วยงานใดจะจัดงานที่ต้องใช้ออแกไนซ์เซอร์เป็นผู้ดำเนินการ
นั้น จะต้องรายงานให้ รมว.ศึกษาธิการ รับทราบ
ถือเป็นนโยบายสำคัญในการลดค่าใช้จ่ายที่สิ้นเปลือง
เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ
“โครงการต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการไปแล้วนั้น
เวลานี้ยังไม่มีการรวบรวมว่ามีการใช้งบจัดงานอีเวนท์ที่สูงเกินไป
หรือส่อไปในทางทุจริตหรือไม่ แต่น่าจะมีการพูดคุยในที่ประชุมผู้บริหาร ศธ.
และนำมาเป็นบทเรียนเพื่อไม่ให้มีการดำเนินการในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นอีก
แต่คงไม่มีการเอาผิดใครย้อนหลัง
และปัจจุบันนโยบายของศธ.มีความเปลี่ยนแปลงไปมาก
โดยเฉพาะโครงการคืนครูให้นักเรียน
ดังนั้นปัญหาการเกณฑ์ครูและนักเรียนมาร่วมงานอีเวนท์ต่าง ๆ ก็คงจะลดน้อยลง”
รศ.นพ.กำจร กล่าว
นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าว
ว่า สพฐ.พร้อมจะสนองนโยบายที่ ครม.และ รมว.ศึกษาธิการ
มอบไว้โดยต่อไปรูปแบบการจัดกิจกรรมต่างๆ ของ
สพฐ.จะเน้นความพอดีและไม่จัดใหญ่โตจนเกินไป
รวมทั้งเลือกจัดงานเฉพาะบางกิจกรรมที่มีความจำเป็นเท่านั้น
และถ้ากิจกรรมใดที่ข้าราชการดำเนินการเองได้ก็จะทำเอง
แต่หากเป็นกิจกรรมที่จำเป็นต้องอาศัยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญก็จะต้องจ้างออแก
ไนซ์เซอร์ เช่น
การจัดงานที่ต้องใช้พิธีกรที่มีความเชี่ยวชาญในภาษาต่างประเทศ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม สพฐ.จะมีการทบทวนการจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน
ซึ่งจัดขึ้นทุกปีใน 4 ภูมิภาคด้วย โดยเร็วๆนี้จะเชิญผู้เกี่ยวข้องมาหารือ
เบื้องต้นอาจจะเสนอให้จัดกิจกรรมใน 2 รูปแบบ คือ จัดกิจกรรมแบบปีเว้นปี
เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณและไม่ทำให้เด็กเสียเวลาในการเตรียมความพร้อม
และลดจำนวนกิจกรรมที่จัดลง แต่ยังเน้นให้ครอบคลุมการนำเสนอในทุกสาระวิชา
ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 พฤษภาคม 2558 |
โพสเมื่อ :
08 พ.ค. 58
อ่าน 1379 ครั้ง คำค้นหา :
|
|