![]() |
แย่อีกแล้ว!งานวิจัยไทยตามหลังมาเลย์ ผลิตป.เอกน้อยกว่าเกาหลีใต้ 6เท่า แนะนักศึกษาทำเชิงพัฒนานำไปใช้ได้จริงไม่ใช่หวังแค่จบการบรรยายพิเศษเรื่อง “โครงการ คปก. : จากประสบการณ์ 4 ปี สู่ความคาดหวังในอนาคต” โดย ศาสตราจารย์ ดร.อมเรศ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการ คปก.วันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2557 ณ โรงแรม เดอะสุโกศล กรุงเทพมหานครความว่า แท้จริงแล้วพลังความสำเร็จของโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก คือ บุคลากรฝ่าย คปก. จำนวน 18 ท่านที่เป็นแรงผลักดันดุษฎีบัณฑิตอย่างแท้จริง โดยผลผลิตของบัณฑิต คปก. ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ คือเฉลี่ย 2.2 เล่มต่อคน จำนวนดุษฎีบัณฑิตเพิ่มขึ้นจนถึงปี 2557 มีจำนวน 3,826 คน ทั้งนี้ถ้าทางโครงการได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นจะทำให้สามารถผลิตบัณฑิตได้มาก ขึ้น โครงการในอนาคตที่ทาง คปก.ประสงค์จะให้มีขึ้น คือ โครงการพัฒนาเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาแห่งชาติ ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยภาครัฐที่ไม่ใช่ทุนจาก มหาวิทยาลัย ปัจจุบันประเทศไทยผลิตปริญญาเอกได้น้อยกว่าเกาหลีใต้ 6 เท่า นับว่าห่างไกลจากค่าเฉลี่ยการผลิตบัณฑิตของโลกมาก ขณะที่ประเทศมาเลเซียผลิตบัณฑิตได้มากกว่า 3,000 คน สกอ.มีโครงการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในอุดมศึกษาเพื่อรองรับการ เปลี่ยนแปลงของบริบทโลก ระยะเวลาดำเนินการ 10 ปี จัดสรรทุนเพื่อผลิตอาจารย์ระดับปริญญาเอก จำนวน 16,000 คน ซึ่งขณะนี้กำลังรอมติ ครม.อยู่ หากผ่านการพิจารณาก็จะหารือเรื่องการลงทุนสนับสนุนการวิจัยร่วมกับ คปก. ต่อไป ซึ่งในปี 2559 ไทยควรจะมีกำลังการผลิตระดับปริญญาเอกที่ 4,000 คน ขณะนี้ คปก. มีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ได้ 1,500 เรื่องต่อปี ตัวเลขนี้จะอยู่นิ่งและไม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ถ้าเราไม่ลงมือทำอะไรตั้งแต่ตอนนี้ ประการต่อมาคือ อันดับผลงานตีพิมพ์ด้านวิทยาศาสตร์ของไทย ปัจจุบันอยู่ลำดับที่ 37 ของโลก ประเทศไทยมีจำนวนผลงานตีพิมพ์ต่อประชากร 1 ล้าน น้อยกว่าฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ มาเลเซีย แม้เกณฑ์ด้านการวิจัยและพัฒนาโดยรวมของประเทศจะมีอันดับแย่ลง แต่อันดับด้านจำนวนบุคลากรวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชนมีการปรับตัวดีขึ้นอย่าง เห็นได้ชัด ถ้าเรามีนักวิจัยที่เก่งก็จะมีความพยายามในการสรรหาทุนได้เอง แต่ทั้งนี้ก็ควรได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐด้วย สำหรับแนวทางการลงทุนพัฒนาบุคลากรวิจัยเพื่ออนาคตของประเทศไทย คือ การได้รับแหล่งทุนจากภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ ต่างประเทศ และเอกชน (ทุนส่วนตัว มูลนิธิ เงินบริจาค และอื่น ๆ) “ถึงเวลาแล้วสำหรับประเทศไทยที่ควรจะมีการรื้อฟื้นโครงการสร้างนักวิจัยหลัง ปริญญา ดังนั้นควรจะมีแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์โดยการ จัดตั้งบริษัท Start – Up Thailand” ผู้อำนวยการ คปก. กล่าว ศ.ดร.วัลลภ สุระกำพลธร ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง กล่าวว่า บัณฑิตทุกคนมุ่งมั่นศึกษาเพื่อให้ได้ปริญญา เราอยากได้ปริญญา แต่เราจะมั่นใจได้มากน้อยเพียงใดว่า เราจะสามารถสร้าง องค์ความรู้ที่มีคุณภาพได้ การทำงานวิจัยเป็นขั้นตอนหนึ่งของการได้รับปริญญา วิทยานิพนธ์เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการนำประเทศออกจากกับดับที่ทำให้หลุด พ้นจากการเป็นประเทศที่มีรายได้น้อย (Middle Income Trap: MIT) ประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีของตนเอง เพื่อยกระดับจากการผลิตที่เดิมใช้ทรัพยากรราคาถูกและเป็นแค่ประเทศที่รับ จ้างผลิต ให้หันมาเป็นผู้วิจัยและพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ดังนั้นจึงมองว่า คปก. น่าจะมีส่วนในการแก้ปัญหานี้ นอกจากนี้เราควรส่งเสริมให้ประชากรมีวัฒนธรรมในการทำงานหนัก หลายครั้งที่มีโอกาสพูดคุยกับเพื่อนชาวต่างชาติ เขาบอกว่าเรามีความคิดดีไม่แพ้ชาติอื่น แต่เราขาดวินัยและความมุ่งมั่นในการทำงานน้อยกว่าเขาเท่านั้น ปัจจุบันการวิจัยและพัฒนาเป็นเรื่องที่นำไปสู่นวัตกรรม เพราะนวัตกรรมเป็นสิ่งที่ผ่านกระบวนการผลิตและทำให้มีคุณค่า มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาและผลิตกำลังคน โครงสร้างพื้นฐาน และควรมีปัจจัยสนับสนุน เช่น กฎหมายหรือการปฏิรูป ถ้าจะสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ต้องมีผู้ประกอบการ การวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐาน และมีการปรับปรุงระบบการศึกษา จากข้อมูลพบว่าในปี พ.ศ. 2555 ประเทศไทยมีการจดสิทธิบัตร 900 กว่ารายการ แต่มีการจดสิทธิบัตรของเราเองจริง ๆ เพียง 57 รายการ นอกนั้นเป็นการจดสิทธิบัตรของนักวิจัยชาวต่างประเทศที่อยู่ในประเทศไทยถึง ประมาณ 900 รายการ และถ้าเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านพบว่าเรามีจำนวนการจดสิทธิบัตรน้อยกว่า มาเลเซีย 3 เท่า สิงคโปร์ 6 เท่า ดังนั้นจึงนับเป็นสิ่งดีที่เราจะมุ่งพัฒนางานวิจัยและการพัฒนากำลังคนไป พร้อม ๆ กัน ด้าน ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า มองการวิจัยเป็นการลงทุนไม่ใช่เรื่องค่าใช้จ่าย จึงควรมีผลของการลงทุนนั้น เพราะถ้าผลจากการลงทุนไม่มีอะไรงอกเงยหรือกลับคืนมา การให้ทุนจะเป็นสิ่งสูญเปล่า ก่อนหน้านี้ไทยมีนโยบายว่าจะเพิ่มงบประมาณการวิจัย 0.5% ของจีดีพี ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่น้อยมาก งานวิจัยของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) แต่ไม่ได้เป็นการวิจัยเพื่อการพัฒนา (Research and Development) หลายครั้งทำงานวิจัยพื้นฐานเพื่อให้เอาไปใช้ได้ แต่แท้จริงแล้วควรมีการวางแผนวิจัยตั้งแต่ต้นเพื่อให้เกิดการประยุกต์ใช้ผล ได้ในอนาคต งบประมาณหรือทุนสนับสนุนให้นักวิจัยต่อหัวต่อคน ดังนั้นควรมุ่งเน้นให้การวิจัยสามารถนำให้พัฒนาไปใช้ได้ เราจำเป็นต้องเพิ่มสัดส่วนการลงทุนวิจัยให้สูงขึ้น และเป็นการวิจัยประยุกต์เพื่อพัฒนาไม่ใช่เพื่อสร้างองค์ความรู้เพียงอย่าง เดียว ดังนั้นจึงต้องออกแบบงานวิจัยตั้งแต่แรก เพราะการวิจัยมีความเสี่ยงตั้งแต่ต้น นอกจากนี้ ดร.สมเกียรติยังมองว่าการวิจัยที่แท้จริงไม่ควรมุ่งเป้าว่าจะจบอยู่ที่การตี พิมพ์ในวารสารสารนานาชาติ ความจริงเรามีผลงานตีพิมพ์ไม่น้อย แต่ที่น้อยมากคือผลผลิตที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญา จึงต้องหันกลับมาคิดว่าเรามุ่งเน้นไปที่ผลงานตีพิมพ์มากเกินไปหรือไม่ รวมถึงจำเป็นต้องบูรณาการงานวิจัยเพิ่มมากขึ้นและนำไปใช้ได้จริงในวงกว้าง เช่น การวิจัยในสาขายางพารา ที่เกิดการนำไปใช้ทางภาคใต้และมีประโยชน์ต่อภาคธุรกิจของประเทศมาก แต่ข้อเสียคืองานวิจัยถูกนำไปใช้ในภาคธุรกิจเพียงบริษัทเดียวและจบลงที่ตรง นั้น ไม่เกิดการนำไปใช้ต่อ หรือปุ๋ยสั่งตัดซึ่งช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตแต่มีการขยายผลในวงจำกัด จึงควรใช้ความพยายามในการขยายผลให้มีการใช้ประโยชน์มากขึ้น ประการต่อมาคือ การพัฒนาที่มากกว่าเงิน คือการพัฒนาคน ซึ่งหมายถึงบุคลากรวิจัยที่ต้องมีมากเพียงพอ ถ้าเราใส่เงินเข้าไปแต่บุคลากรทางด้านการวิจัยน้อยลง ผลลัพธ์ก็จะไม่เกิด ดังนั้น คปก.จึงมีส่วนสำคัญที่จะผลักดันในประเด็นนี้ นอกจากนี้ปัญหาที่มองเห็นอีกอย่างหนึ่งคือ บุคลากรทางด้านงานวิจัยส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในภาครัฐและมหาวิทยาลัย จึงยากที่จะทำให้เกิดการประยุกต์ใช้ผลงานวิจัยได้แพร่หลาย อีกทั้งยังไม่มีกลไกในการหมุนเวียนไปยังภาคเอกชนที่เป็นตัวขับเคลื่อนภาค เศรษฐกิจอย่างแท้จริง ดังนั้นนักศึกษาปริญญาเอกจึงต้องเริ่มหมุนเวียนกำลังคนจากต้นน้ำ และเห็นบริบทของการใช้ประโยชน์จริงเพื่อสนองตอบความต้องการของประเทศ นอกเหนือจากการสร้างองค์ความรู้ “อาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยยังคงมีปัญหาในเรื่องการบริหารการจัดการงานวิจัย ที่ประสิทธิผลต่ำ แม้จะมีการเพิ่มเม็ดเงิน ผลลัพธ์เชิงคุณภาพก็ไม่ดีขึ้น ถ้าให้งบประมาณโดยไม่ใส่ความเชื่อมโยง ไม่ทำให้ผู้รับทุนซึ่งเป็นเงินที่ได้มาจากภาษีอากรประชาชนมีจิตสำนึกสาธารณะ ในการพัฒนาประเทศ งบประมาณในงานวิจัยก็จะเป็นเบี้ยหัวแตก นอกจากนี้โครงการที่ถูกเรียกว่าการบูรณาการก็ยังไม่ใช่การบูรณาการที่แท้ จริง ดังนั้นผู้วิจัยควรคำนึงอยู่สเมอว่า งานวิจัยที่ตนเองทำ จะนำไปพัฒนาและแก้ปัญหาได้อย่างไรบ้าง ถึงเวลาแล้วที่ควรมีการพัฒนางานวิจัยของเราให้เป็นระบบวิจัยที่มีการพัฒนา ศักยภาพที่ประสิทธิภาพเพื่อให้พร้อมกับการลงทุนใหม่” ด้าน รศ.ดร. พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา มองว่าปัญหาของระบบบริหารการวิจัยส่วนหนึ่งคือ การเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบาย ขาดการพัฒนากำลังคนที่จะร่วมพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลิตภาคและ ศักยภาพในการแข่งขัน สำหรับประเทศไทยมีข้อสังเกต ด้านการให้ความสำคัญของงานวิจัยและทรัพยากรด้านกำลังคนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม 3 ประการ คือ 1.ขาดการเตรียมความพร้อมและการวางแผนด้านกำลังคนทุกระดับตั้งแต่เยาวชนไปจน ถึงทำงาน ระดับมัธยมศึกษา ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ (ผลคะแนน PISA ค่อนข้างต่ำ) การไม่สนใจเรียนต่อในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่มีตลาดแรงงานของนักวิจัย เนื่องจากการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาประเทศอยู่ในระดับต่ำ และไม่มีการวางเส้นทางอาชีพให้กับนักวิจัย ดังจะเห็นได้จากสัดส่วนของแรงงานความรู้ต่อแรงงานส่วนใหญ่ (ร้อยละ 90 เป็นแรงงานไร้ฝีมือ) 2.ขาดการกระตุ้นการลงทุนเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จากระดับการลงทุนด้านการวิจัยและการพัฒนาประเทศค่อนข้างต่ำ ในทางตรงข้ามประเทศไทยกลับมีอันดับความสามารถในการดูดซับและแพร่กระจายความ รู้ และ 3. ขาดปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุน และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ เช่น เสถียรภาพทางการเมือง กฎระเบียบ เป็นต้น ขณะที่ ศ.ดร.วิชัย ริ้วตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมเคมี เห็นว่าการวิจัยขั้นพื้นฐานมีส่วนสำคัญไม่แพ้การวิจัยเพื่อการพัฒนา ถ้านโยบายของรัฐบาลมีการส่งเสริมด้านงานวิจัยต้องต่อเนื่อง หน้าที่ของนักวิทยาศาสตร์ คือการตอบคำถามให้ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นหลังจากที่งานวิจัยสำเร็จ คปก.เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนงานวิจัย ความคาดหวังภายในระบบการศึกษาไทยหวังจะให้มีการพัฒนาบุคลากรหลังงานวิจัย อนึ่ง ในช่วงท้ายของกาประชุมมีประเด็นข้อเสนอะแนะเพิ่มเติมจาก ดร.สมเกียรติ ที่ว่าเพื่อให้ดุษฎีบัณฑิตที่เป็นผลผลิตจาก คปก. สามารถผลิตงานวิจัยเพื่อการพัฒนาได้มีศักยภาพมากขึ้น ควรมีการจัดสรรเวลาให้พวกเขาได้มีโอกาสไปเรียนรู้การทำงานในสนามจริง ก่อนที่จะมาทำงานในส่วนของระบบการวิจัยในภาครัฐ เช่น การทำงานวิจัยในมหาวิทยาลัยเพื่อจะได้มองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นขณะทำงานวิจัย เชิงปฏิบัติจริงได้อย่างเป็นรูปธรรม และเกิดผลงานวิจัยเพื่อการพัฒนาและใช้ประโยชน์มากขึ้น แล้วงานวิจัยของนักวิชาการก็จะไม่ใช่งานวิจัยขึ้นหิ้ง แต่เป็นงานวิจัยที่สามารถแก้ปัญหาทางด้านต่าง ๆ ของประเทศได้โดยแท้จริง
ที่มา คมชัดลึก วันที่ 12 กันยายน 2557 |
โพสเมื่อ : 15 ก.ย. 57 อ่าน 1506 ครั้ง คำค้นหา : |