![]() |
สมศ.ประเดิมเปิดรายชื่อ 10 จังหวัดคุณภาพ และสถิติคุณภาพการศึกษาไทยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. เผยรายชื่อ 10 จังหวัดคุณภาพ พร้อมสถิติคุณภาพการศึกษาไทย จากผลประเมินการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถม – มัธยม ทั้ง 3 รอบที่ผ่านมา มีจำนวนสถานศึกษาที่ได้รับการประเมินดีมากทั้ง 3 รอบ ระยะเวลา 15 ปี เพียงจำนวน 354 แห่ง จากสถานศึกษาที่ได้รับการประเมินจำนวน 31,797 แห่งทั่วประเทศ คิดเป็นร้อยละ 1.11 (จำนวนทั้งหมด 32,936 แห่ง) จากผลประเมินสามารถสรุปได้ว่าเกิดมาจากการตื่นตัวและการให้ความสำคัญในการ ประเมินของผู้บริหาร ด้วยการใช้ระบบประกันคุณภาพภายในเป็นกลยุทธ์หลักในการขับเคลื่อนสถานศึกษา โดยนำผลการประเมินรอบที่ 1-2 มาปรับใช้อย่างจริงจัง เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพสถานศึกษาให้ดียิ่งขึ้นไป นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญในเรื่องการยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเพื่อ พัฒนานักเรียนทุกคน และจบการศึกษาอย่างมีคุณภาพ และมีคุณลักษณะตามเกณฑ์ เป้าหมาย และมาตรฐานของหลักสูตรที่ได้กำหนดไว้ สำหรับคณาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไป สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือเข้าไปที่ www.onesqa.or.th ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์
ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
หรือ สมศ. กล่าวว่า จากสถิติได้จากผลการประเมินทั้ง 3 รอบ 15
ปีที่ผ่านมามีจำนวนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับการประเมินในระดับดีมาก
ทั้ง 3 รอบ จำนวน 354 แห่ง จากสถานศึกษาที่ได้รับการประเมินจำนวน 31,797
แห่งทั่วประเทศ คิดเป็นร้อยละ 1.11 (จำนวนทั้งหมด 32,936 แห่ง)
โดยจังหวัดที่มีร้อยละของสถานศึกษาที่ได้รับผลประเมินจาก สมศ. ดีมากทั้ง 3
รอบ 10 จังหวัดแรก ได้แก่ นอกจากนี้ สมศ. ยังได้เก็บข้อมูลสถิติการศึกษาไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2553 - พ.ศ.2557 พบว่าประเทศไทยมีครูในระดับการศึกษาขึ้นพื้นฐาน (ประเภททั่วไป) จำนวน 404,263 คน มีนักเรียนทั้งประเทศรวมกัน 8,338,512 คน มีสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งหมด 32,936 แห่ง โดยจังหวัดนครราชสีมา เป็นจังหวัดที่มีจำนวนสถานศึกษามากที่สุดจำนวน 1,530 แห่ง ส่วนจังหวัดที่มีนักเรียนและครูมากที่สุดคือกรุงเทพฯ มีจำนวนนักเรียน 824,581 คน และมีครู-อาจารย์จำนวน 38,438 คน ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ กล่าวว่า สำหรับการประเมินคุณภาพภายนอก รอบที่ 4 ของประเทศไทยที่กำลังจะเกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ.2559-2563 จะนำระบบการประเมินคุณภาพเชิงพื้นที่ (Area-Based Assessment) เพื่อให้การพัฒนาความเข้มแข็งของระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของพื้นที่ ด้วยการนำผลการประเมินคุณภาพเชิงพื้นที่ไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาของจังหวัด ทั้งในระดับการศึกษาปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ด้านการอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา นำสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของจังหวัดอันเป็นการสร้างวิถีชีวิตคุณภาพสู่ วัฒนธรรมคุณภาพ ศาสตราจารย์ดร.ชาญณรงค์ กล่าวว่า สำหรับประโยชน์ของการประเมินคุณภาพเชิงคุณภาพพื้นที่ ABA จะทำให้จังหวัด หน่วยงานต้นสังกัด และสถานศึกษา นำข้อมูลไปใช้วางแผนเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่นสู่ประชาคมอาเซียน ทั้งนี้ เสนอให้รัฐบาลและหน่วยงานราชการทุกภาคส่วนของพื้นที่และจังหวัดให้ความสนใจ และเร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างจริงจังโดยให้มีการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ จังหวัดและบรรจุแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาไว้ในแผนยุทธศาสตร์การศึกษาของ จังหวัดทุกจังหวัดรวมถึง ทบทวนกำหนดรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาในพื้นที่ให้สอดคล้องกับงานด้านการ ปกครอง ตลอดจนการจัดทำระบบฐานข้อมูลการศึกษาในระดับจังหวัดเป็นภาพรวมเพื่อใช้วาง แผนยุทธศาสตร์ของจังหวัด เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของแต่ละจังหวัด ในการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาไทยให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเพื่อให้เกิดความร่วมมือของทุกภาคีเครือข่ายในการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนา คุณภาพการศึกษาในพื้นที่จังหวัด อย่างไรก็ตามในการประเมินรอบ 3 ที่ผ่านมา สำนักงานได้จัดทำโครงการการประเมินคุณภาพเชิงพื้นที่ ABA ในรูปแบบงานวิจัย โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ดำเนินการนำร่อง 8 จังหวัด ในปี 2556 จำนวน 20 จังหวัด จากการสอบถามสถานศึกษา 1,300 แห่ง ในพื้นที่ 28 จังหวัด พบว่า สถานศึกษาทุกระดับได้นำผลการประเมินคุณภาพเชิงพื้นที่ ไปใช้ในการจัดระบบการประกันคุณภาพภายใน ร้อยละ 83 นำไปปรับปรุงและสนับสนุนการเรียนการสอน ร้อยละ 81.50 ผลการประเมินมีส่วนกระตุ้นและสร้างความตระหนักในการพัฒนา ร.ร. ร้อยละ 80.90 และผลการประเมินสามารถนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนา ร.ร. ร้อยละ 80.60 ส่วนผลวิจัยจากการ Focus Group พบว่าส่วนใหญ่ ร.ร.นำผลไปใช้ในการพัฒนาและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการดำเนินงานจะสำเร็จและบรรลุผลได้ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของบุคลากรใน สถานศึกษา เกิดความเข้าใจและมีความตระหนักในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาร่วมกัน สำหรับคณาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไป
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ
การศึกษา (องค์การมหาชน) หรือเข้าไปที่ www.onesqa.or.th
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 29 เม.ย 2558 |
โพสเมื่อ : 01 พ.ค. 58 อ่าน 1743 ครั้ง คำค้นหา : |