อึ้ง! ตัวเลขแป๊ะเจี๊ยะปี57 สูงกว่า640ล้าน
ป.ป.ช.ชี้ประเทศไทยทุจริตมากคงที่ เผยตัวเลขน่าตกใจแป๊ะเจี๊ยะปี 57
สูงกว่า 640 ล้านบาท ทั้งที่ ศธ.ออกประกาศห้ามแล้ว
แถมเด็กยังมองการทุจริตเป็นเรื่องธรรมดา ลอกข้อสอบก็ไม่ผิด  .....
วันนี้( 8ม.ค.) ที่โรงแรมเอเชีย นายอุทิศ บัวศรี
ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
(ป.ป.ช.) บรรยายพิเศษเรื่อง“เก่งจริง ต้องไม่โกง”
จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ. )ว่า ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น
ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นทั่วโลก และจากข้อมูลพบว่า
เรื่องของการทุจริตของประเทศไทยไม่เพิ่มขึ้น เพราะการทุจริตมีมากอยู่แล้ว
โดยการทุจริตคอรัปชั่นถือเป็นพฤติกรรมของคนที่ถูกปลูกฝังกันมานาน
รวมทั้งยังมีค่านิยมใช้อำนาจในการช่วยเหลือญาติพี่น้อง
และใช้ระบบอุปถัมภ์ในทางที่ผิด คือ
การอุปถัมภ์จะต้องทำเพื่อส่วนรวมไม่ใช่การอุปถัมภ์เพื่อส่วนตัว
ดังนั้นต้องแยกกันให้ชัด ซึ่งการทุจริตคอรัปชั่น
ถ้าจะใช้วิธีการปราบปรามอย่างเดียวคงแก้ไม่ได้ดังนั้นจะต้องใช้กฎหมายมา
บังคับ
ขณะเดียวกันต้องสร้างกลไกไม่ให้คนทำผิดและปลูกฝังจิตสำนึกให้คนในประเทศ
ไม่เห็นว่าเรื่องของการทุจริตคอรัปชั่น
เป็นเรื่องไม่ผิดหรือเป็นเรื่องธรรมดา
นายอุทิศ กล่าวต่อไปว่า
รัฐบาลนี้ให้ความสำคัญกับเรื่องการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างมาก
โดยเฉพาะในปีงบประมาณ 2559
มีการจัดสรรงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและ
ประพฤติมิชอบในภาครัฐ ถึง 2,345 ล้านบาท ใน 491 โครงการ และงบฯดังกล่าวเกิน
50 % จะทุ่มไปที่เด็ก
เพราะหวังว่าจะสามารถปลูกฝังเด็กรุ่นใหม่ให้มีพฤติกรรมการทุจริตคอรัปชั่น
น้อยลง
อีกทั้งเห็นว่าปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นจะแก้ไขได้ต้องใช้ระบบการศึกษาเข้ามา
ช่วย เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกของคน
นายอุทิศ กล่าวว่า สิ่งที่น่าตกใจ คือ ผลการสำรวจของคณะเศรษฐศาสตร์
จุฬาฯ
เกี่ยวกับการเก็บค่าแป๊ะเจี๊ยะของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ที่พบว่า ในปี 2542 โรงเรียนมีการเก็บเงินค่าแป๊ะเจี๊ยะ
เพียง 190 ล้านบาท แต่พอปี 2557 มีการเก็บเงินค่าแป๊ะเจี๊ยะถึง 640 ล้านบาท
ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าถ้ามีการจ่ายเงินตั้งแต่เด็ก
เพื่อให้เข้าเรียนได้และไม่ถือว่าเป็นความผิด
แต่เป็นเรื่องธรรมดาเด็กก็จะใช้เงินซื้อทุกอย่างไปทั้งชีวิต
ถึงแม้ว่ากระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)
จะมีประกาศชัดเจนห้ามจ่ายเงินค่าแป๊ะเจี๊ยะเพื่อแลกที่นั่งเรียน
แต่ในทางปฎิบัติก็ยังมีอยู่ นอกจากนี้มูลนิธิเพื่อคนไทย ได้สำรวจเด็กอายุ
18-25 ปี จำนวน 4,000 คน ในกทม.และภูมิภาค 21 จังหวัด
ถึงทัศนคติของเยาวชนเกี่ยวกับการทุจริตผลปรากฏว่า เด็ก 80 %
เห็นว่าการลอกข้อสอบ เป็นเรื่องไม่ผิดและเป็นเรื่องธรรมดา 63 %
เคยเซ็นชื่อให้เพื่อน เพราะคิดว่าไม่ผิด
ดังนั้นการแก้ปัญหานี้ต้องเริ่มที่ตัวเองก่อน
ส่วนเด็กจะดีได้ไม่ทุจริตคอรัปชั่น
ครูและอาจารย์ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการการทุจริตคอรัปชั่นก่อน
“จากผลการจัดอับดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอรัปชั่นปี 2557
ประเทศไทยได้คะแนนเพิ่มขึ้นจาก 35 คะแนน เป็น 38 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100
คะแนน และอยู่ในอันดับที่ 85 จาก 175 ประเทศทั่วโลก และเป็นอันดับที่ 12
จาก 28 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มประเทศ
อาเซียนประเทศไทยเป็นรองประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซีย ที่ได้คะแนนเกิน 50
คะแนนแต่คะแนนที่เพิ่มขึ้นก็สะท้อนว่าที่ผ่านมาหลายหน่วยงานมีส่วนร่วมในการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตมากขึ้น
ดังนั้นผมจึวมีความหวังว่าปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นของประเทศไทยจะลดลงได้ใน
อนาคต”นายอุทิศ กล่าว
ที่มา เดลินิวส์ วันพฤหัสบดี 8 มกราคม 2558 |
โพสเมื่อ :
09 ม.ค. 58
อ่าน 1617 ครั้ง คำค้นหา :
|
|