![]() |
วันนี้(11ธ.
ค.)ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
กล่าวถึงเรื่องที่คณะรัฐมนตรี (ครม. )มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
รับข้อเสนอของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
เรื่องแนวทางแก้ปัญหาการจัดเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชา โดยไปประสานกับกระทรวง
ทบวง กรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และพิจารณาจัดทำเป็นรายละเอียดปฏิบัติ
เพื่อดำเนินการและให้เสนอเข้า ครม.อีกครั้งภายใน 30 วันนั้น ว่า
ที่ผ่านมาสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.)
เคยศึกษาเรื่องเกี่ยวกับโรงเรียนกวดวิชาไว้แล้ว ซึ่งผลการศึกษาระบุว่า
ธุรกิจการกวดวิชาในปี 2553 มีมูลค่าเกือบ 2 หมื่นล้านบาท
และมีการขยายตัวสู่ภูมิภาคมากขึ้น
ตลาดการกวดวิชามีลักษณะดำเนินการในรูปของธุรกิจมากขึ้น
กำไรจากการดำเนินธุรกิจสำหรับกิจการเจ้าของคนเดียวอยู่ระหว่างร้อยละ 12-19
ส่วนธุรกิจที่มีขนาดใหญ่จำมีอัตรากำไรสูงถึงร้อยละ 40-50
โดยค่าเรียนกวดวิชาเฉลี่ยต่อหลักสูตรจะอยู่ที่ 3,000-5,500 บาท ซึ่งใน 1 ปี
นักเรียนจะกวดวิชาเฉลี่ยคนละ 5 หลักสูตร
แต่เมื่อพิจารณาลักษณะของนักเรียนที่เรียนกวดวิชา พบว่า
นักเรียนที่เรียนดีมักมีแนวโน้มเรียนพิเศษมากกว่านักเรียนที่มีฐานะดี
มีการใช้จ่ายกวดวิชามากกว่านักเรียนที่จนที่สุดถึง 2.7 เท่า
และจากการศึกษาดังกล่าวยังได้วิเคราะห์ถึงผลของการจัดเก็บภาษีว่า
หากเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชาเพิ่มขึ้น
จะมีผลให้ความต้องการเรียนกวดวิชาลดลงทุกระดับชั้น
แต่ในช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
จะตอบสนองต่อราคามากกว่าช่วงชั้นอื่นถ้ามีการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้น
ก็จะส่งผลให้ค่าเรียนกวดวิชาสูงขึ้น และภาระภาษีที่ตกกับนักเรียน
ที่มา เดลินิวส์ วันพฤหัสบดี 11 ธันวาคม 2557 |
โพสเมื่อ : 12 ธ.ค. 57 อ่าน 1680 ครั้ง คำค้นหา : |