![]() |
เลาะเลียบคลองผดุงฯ
ต่อมาคณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย จุฬาฯ ได้กระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้คนไทยได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญ ตลอดจนร่วมมือกันทำนุบำรุง ส่งเสริม อนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทย จึงเสนอรัฐบาลประกาศให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ เช่นเดียวกับวันสำคัญอื่นๆ
สำหรับพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใน ครั้งนั้น มีใจความตอนหนึ่งว่า
"เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษาก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่าวิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สามคือความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้... สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆ ก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก..."
ในหลายๆ โอกาส พระองค์ได้ทรงแสดงความห่วงใยในภาษาไทย อย่างเช่นในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาฯ เมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2512 ที่ได้ทรงมีพระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า
"ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่า ได้มีการใช้คำออกจะฟุ่มเฟือย และไม่ตรงกับความหมายอันแท้จริงอยู่เนืองๆ ทั้งออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นไปดังนี้ ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เองเป็นสิ่งอันประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเราทุกคนจึงมีหน้าที่จะต้องรักษาไว้ ฉะนั้นจึงขอให้บรรดานิสิตและบัณฑิต ตลอดจนครูบาอาจารย์ได้ช่วยกันรักษาและส่งเสริมภาษาไทย ซึ่งเป็นอุปกรณ์และหลักประกันเพื่อความเจริญวัฒนาของประเทศชาติ"
พระราชดำรัสและพระบรมราโชวาท ดังกล่าว
คนไทยและคุณครูทุกท่านทุกคนควรได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญ
การใช้ภาษาไทย ให้มีความถูกต้องงดงามตลอดไป
|
โพสเมื่อ : 28 ก.ค. 58 อ่าน 1842 ครั้ง คำค้นหา : |