นักศึกษาอยากเห็นอนาคต อุดมศึกษานานาชาติอย่างไร?



ซอกบี้อะนาไลติกส์ สำนักวิจัยด้านความคิดเห็นของสหรัฐอเมริกาได้สำรวจนักศึกษาในกลุ่ม มหาวิทยาลัยนานาชาติลอรีเอท 37 มหาวิทยาลัย ใน 21 ประเทศ มีนักศึกษาเข้าตอบคำถาม 20,800 คน

“อนาคตอุดมศึกษาไทยจะเป็นอย่างไร” นั้น เรามักจะมีคำตอบจากกูรูหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา แต่สิ่งที่เป็นคำตอบของนักศึกษาว่าอยากเห็น อยากได้ อยากมี มหาวิทยาลัยในอนาคตอย่างไรนั้น ผู้เขียนมีผลสรุปจากสำนักวิจัยซอกบี้อะนาไลติกส์มาเผยแพร่ในบทความนี้และขอ คั่นบทความทุนนิยมอเมริกาด้วยบทความสำหรับพฤหัสนี้น่ะครับ

ซอกบี้อะนาไลติกส์ สำนักวิจัยด้านความคิดเห็นของสหรัฐอเมริกาได้สำรวจนักศึกษาในกลุ่ม มหาวิทยาลัยนานาชาติลอรีเอท 37 มหาวิทยาลัย ใน 21 ประเทศ มีนักศึกษาเข้าตอบคำถาม 20,800 คน ซึ่งก็ถือว่าเป็นการศึกษาสำรวจความคิดเห็นที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของโลกการ ศึกษานานาชาติ ซึ่งจากการศึกษาได้พบความชัดเจนว่านักศึกษาต้องการให้อุดมศึกษาในอนาคตนั้น ทำให้บัณฑิตพัฒนามีงานทำและมีความก้าวหน้าในวิชาชีพของตน

ผลสรุปของงานสำรวจของนักศึกษาแบ่งออกได้เป็น 4 ด้านใหญ่คือ หนึ่ง การเข้าถึงได้ (Accessible) เป็นนักศึกษาเกือบครึ่งคือประมาณ 47% เชื่อว่ามหาวิทยาลัยในอนาคตจะมีเนื้อหาหลักสูตรออนไลน์และให้การศึกษาฟรี สำหรับวิชาออนไลน์ส่วนใหญ่ และนักศึกษาประมาณ 59% จะใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการเรียนรู้และก็ติวกันเองสอนกันเอง และมากกว่าสองในสามเดือนหรือ 68% เชื่อว่ามหาวิทยาลัยจะมีห้องสมุดออนไลน์ให้นักศึกษาสามารถเข้าไปอ่านและ ศึกษาวิชาการต่าง ๆ ในรูปแบบของเอกสาร หนังสือตำรา และหนังสืออ้างอิง

สอง มีความยืดหยุ่นได้ (Flexible) นักศึกษาส่วนใหญ่ 52% เชื่อว่าวิชาในหลักสูตรต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือ กลางคืน และ 49% เชื่อว่าวิชาเรียนส่วนใหญ่จะเปิดการเรียนการสอนแบบไม่ผูกติดกับตารางเวลา เรียน เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่ทำงานอยู่แล้วสามารถเข้าเรียน ซึ่งไม่เหมือนกับมหาวิทยาลัยภาคปกติและ 41% ของนักศึกษาเชื่อว่านักศึกษามหาวิทยาลัยในอนาคต จะสามารถเรียนเพื่อที่จะได้รับประกาศนียบัตรสำหรับวิชาชีพโดยเฉพาะตลอดช่วง อายุการทำงานในบริษัทหรือองค์กร และถ้าหากในประกาศนียบัตรเฉพาะวิชาชีพสามารถสะสมและอนุญาตให้มีการลงทะเบียน เป็นเรียนวิชาที่ต่อเนื่องและสะสมไป 2 ปี หรือ 4 ปี เพื่อต่อเนื่องจนเป็นปริญญาบัตรได้ ก็จะมีประโยชน์ต่อวิชาชีพในอนาคตของนักศึกษา

สาม นวัตกรรมหรือแนวคิดใหม่ (Innovate) นักศึกษามากกว่า 54% พยากรณ์ว่ามหาวิทยาลัยในอนาคตจะเปิดสอนวิชาเรียน ซึ่งทำให้นักศึกษาเรียนร่วมกันได้ โดยเฉพาะการทำโครงการเป็นกลุ่มโดยช่วยกันคิดช่วยกันทำ และยังเพิ่มเติมอีกว่า 43% เชื่อว่านักศึกษาจะสามารถเข้าเรียนในวิชาที่ตนเองอยากรู้อยากเรียนได้หรือ กระทั่งมีการติวหรือสอนเสริมแบบออนไลน์ ซึ่งทำให้การเรียนที่จะต้องมาเจอกันกับอาจารย์ในห้องเรียนน้อยลง

สี่ นักศึกษาเห็นว่ามหาวิทยาลัยในอนาคตจะมุ่งสู่การผลิตนักศึกษาที่มีการเตรียม พร้อมสำหรับงานที่ภาคอุตสาหกรรมและสังคมต้องการโดย 61% เชื่อว่าวิชาเรียนส่วนใหญ่ในอนาคตจะต้องได้รับการออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญใน ภาคอุตสาหกรรม และ 64% ทำนายว่าวิชาเรียนเหล่านี้จะมีมากมายหลายภาษาให้เรียนได้ทุกชนชาติ และมากกว่า 70% คิดว่าทักษะที่มุ่งสู่วิชาชีพในภาคอุตสาหกรรมจะมีการสอนในมหาวิทยาลัย

ผมเห็นว่าสิ่งที่นักศึกษาต้องการนั้น จะช่วยทำให้เขาเป็นทรัพยากรที่ดีสำหรับสังคมและเศรษฐกิจ เพราะเขาอยากมีงานทำที่ตรงกับวิชาชีพ เขาอยากเรียนรู้วิชาชีพในอุตสาหกรรมเพื่อเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความ สำเร็จในอนาคตและช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศของตนให้ประชาชนส่วนใหญ่ของ เขาอยู่ดีกินดีมีความสุข

คิดว่ากูรูหรือผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษา คงจะไม่น่าคิดต่างจากนี้เท่าไรนัก.


รศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล
อธิการบดีมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
[email protected]

 

ที่มา เดลินิวส์ วันพฤหัสบดี 25 กันยายน 2557


โพสเมื่อ : 25 ก.ย. 57   อ่าน 1485 ครั้ง      คำค้นหา :