![]() |
นายกมล รอดคล้าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ส่งผู้บริหารและครูจากกลุ่มโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ 6 โรง จำนวน 30 คน ไปอบรมการช่วยเหลือเด็กในพื้นที่ประสบภัยพิบัติที่เมืองมิยางิ จ.เซนได ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 1-7 ต.ค. 2556 เนื่องจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้ประสบภัยสึนามิเมื่อปี54 และยังไปดูงานของ ร.ร.ประถมและมัธยมเมืองมิยางิ เพื่อจะดูว่ากรณีที่ร.ร.ประสบภัยธรรมชาติจะดูแลนักเรียนอย่างไร ซึ่งสพฐ.หวังว่าจะนำแนวทางนี้มาประยุกต์ใช้ในเมืองไทย นายกมลกล่าวต่อว่า เมื่อวันที่ 26 เม.ย.-2 พ.ค. ที่ผ่านมา สพฐ.ส่งผู้บริหารร.ร.ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไปอบรมและดูงานที่มหาวิทยาลัยดังกล่าวเพิ่ม ซึ่งพบว่ารูปแบบการจัดการในพื้นที่ภัยพิบัติมี 3 เรื่องสำคัญ คือ 1.การบริหารจัดการเมื่อประสบภัย เช่น การซ่อมแซมอาคารที่เสียหาย การควบชั้นเรียนชั่วคราว 2.การดูแลเด็กกำพร้า ซึ่งไทยไม่มีสถานการณ์เช่นนี้ แต่ที่ญี่ปุ่นถ้ามีเด็กกำพร้า ชุมชนจะเข้ามาดูแลพร้อมจัดบัดดี้เป็นพี่เลี้ยงเด็ก และ 3.เพิ่มหลักสูตรการเรียนรู้ภัยธรรมชาติและเรียนรู้ชุมชน อาทิ เด็กภาคเหนือต้องเรียนรู้แผ่นดินไหว ภาคใต้ต้องเรียนรู้สึนามิ ที่สำคัญต้องเรียนรู้ประวัติชุมชน สถานที่สำคัญ ทั้งนี้ สพฐ.เตรียมจะให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แต่ละแห่งผลักดันให้เกิดการสอนวิชาเหล่านี้ในชุมชนของตัวเองด้วย หน้า 23 ที่มา: http://www.matichon.co.th/khaosod |
โพสเมื่อ : 12 พ.ค. 57 อ่าน 1423 ครั้ง คำค้นหา : |