สจล.จัดเสวนาให้เยาวชนเรียนรู้ชั้นบรรยากาศด้านคุณประโยชน์และกฎหมายระหว่างประเทศ




      
สจล.จัดเสวนาให้เยาวชนเรียนรู้ชั้นบรรยากาศด้านคุณประโยชน์และกฎหมายระหว่างประเทศ


          ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า ในโอกาสที่คุณพิรดา เตชะวิจิตร์ ศิษย์เก่าวิศวะลาดกระบังและเป็นผู้หญิงไทยคนแรกที่ได้รับคัดเลือกเดินทางท่องอวกาศกับยานลิงซ์ มาร์ค ทู (LNX MARK II) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ประมาณต้นปี 2558 คณะวิศวะลาดกระบังจึงได้จัดงานเสวนาขึ้น เพื่อต้องการกระตุ้นให้เยาวชนคน รุ่นใหม่และคนไทยสนใจตื่นตัวศึกษา ชั้นบรรยากาศที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน ของมนุษย์ทุกคน รวมทั้งภาคธุรกิจ ภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรม หรือแม้กระทั่งเรื่องความมั่นคงและการทหาร ทั้งนี้เนื่องจาก การบินหรือการเดินอากาศชั้นบรรยากาศ คือ ดินแดนของรัฐมีการกำหนดขอบเขตเท่าใด, ชั้นบรรยากาศที่อยู่เหนือดินแดนของรัฐก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนของรัฐด้วย รัฐอื่นใดต้องการที่จะผ่านเข้าไป จำเป็นต้องขออนุญาตมิฉะนั้นแล้วถือได้ว่าเป็นการล่วงล้ำอธิปไตยซึ่งถือเป็น การละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันการประกอบกิจกรรมด้าน อวกาศไม่ได้ถูกจำกัดอยู่เฉพาะรัฐ การศึกษา หรือการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เท่านั้น แต่รวมถึงการประกอบกิจกรรม ในเชิงธุรกิจ ซึ่งมุ่งแสวงผลกำไร ฉะนั้น จึงมีการแข่งขันและแบ่งปันผลประโยชน์ การประกอบกิจการเหล่านั้นในอวกาศ ต้องเป็นไปตามกฎระเบียบข้อบังคับในอวกาศ และเพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวมด้วย
          ศ.ดร.สุชัชวีร์ กล่าวต่อไปอีกว่า ประโยชน์ของชั้นบรรยากาศโลกสามารถนำมาใช้เป็นคุณต่อประชาชนและ ประเทศชาติได้มากมาย เช่น การสื่อสาร ข้อมูลโดยใช้ดาวเทียมเป็นตัวช่วย ในการสื่อสารส่งสัญญาณให้ประชาชน ในหลายๆ พื้นที่ กิจการการบินที่ช่วยให้ เครื่องบินสัญจรทางอากาศได้มีคุณภาพ และปลอดภัย การถ่ายทอดรายการโทรทัศน์ ผ่านสัญญาณดาวเทียม การเกษตรอัจฉริยะ ในต่างประเทศเริ่มใช้ GPS เข้ามาใช้ในการเกษตรส่งสัญญาณไปที่เครื่องจักรในไร่นาเพื่อการเก็บเกี่ยวอัตโนมัติ เพื่อลดต้นทุนการทำงาน การขุดเจาะแหล่งน้ำมันซึ่งต้องมีการตั้งพิกัดการขุดเจาะ หรือการสำรวจทางดาวเทียม การรังวัดที่ดินในกรณีที่เกิดการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกซึ่งมีผลต่อพื้นที่ที่ดินที่อาจมี การคลาดเคลื่อนจากเดิม การตรวจสอบ ไฟป่า อุทกภัยและภัยพิบัติในพื้นที่ต่างๆ ตรวจสอบและการเตือนภัย อาทิเช่น ปริมาณคลื่นยูวีในแต่ละวันและพายุสุริยะจากดวงอาทิตย์ ความแปรปรวนของชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์และโทรโพสเฟียร์ การเรียนรู้จะทำให้เราทราบว่า ประเทศไทยของเราโชคดี โดยเฉพาะบริเวณใกล้ เส้นศูนย์สูตร แม่เหล็กโลก (Magnetic Equator) ที่หลายคนอาจจะไม่รู้ตัวว่าเรากำลังได้รับ การปกป้องจาก สนามแม่เหล็กโลก ที่กันไม่ให้อนุภาคที่มีปริมาณสูงและรุนแรงลงมาทำลายชีวิตบนโลกได้ และโชคดีกว่าใครที่ประเทศไทยตั้งอยู่บนเส้นศูนย์สูตรแม่เหล็กโลก และมีตำแหน่งสำคัญต่อการศึกษาและวิจัยเป็นอย่างมาก เนื่องจากในบริเวณนี้มีความแปรปรวนของชั้นไอโอโนสเฟียร์สูงมาก โดยเฉพาะที่จ.ชุมพร มีตำแหน่งใกล้กับเส้นศูนย์สูตรแม่เหล็กและเป็นแหล่งกำเนิดปรากฏการณ์ plasma bubble ดังนั้นเพื่อให้การใช้ประโยชน์จากอวกาศเป็นไปอย่างสูงสุดเพื่อสาธารณชน คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.จำเป็นต้องมีการสร้างองค์ความรู้ การศึกษาวิจัยและให้ความรู้ต่อประชาชนทั่วไป รวมทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนรุ่นใหม่เข้ามาศึกษาด้านอวกาศและชั้นบรรยากาศ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. มีแผนที่จะพัฒนาเพื่อเปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมอวกาศในอนาคต อีกด้วย

      

    ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า



โพสเมื่อ : 13 ก.พ. 57   อ่าน 1603 ครั้ง      คำค้นหา :