ชี้ผู้ประเมินของ สมศ. ยังไม่มีออาชีพ
ตัวแทนนิสิตครุศาสตรดุษฏีบัณฑิต จุฬาฯ ชี้ผู้ประเมินของสมศ.ยังไม่เป็นมืออาชีพ แนะปรับปรุงกระบวนการบริหารผู้ประเมินแนวใหม่  .....
วันนี้ (26 ม.ค.) นางนิจิรา บำรุงกิจ
ตัวแทนนิสิตครุศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา รุ่นที่ 24
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงผลการสัมมนาเรื่อง "
ทางออกในการบริหารคุณภาพการศึกษา : การบริหารผู้ประเมินภายนอกแนวใหม่ "
จัดโดยนิสิตครุศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา รุ่นที่ 24
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อเร็วๆนี้ว่า
ที่ประชุมสัมมนาได้สรุปถึงสภาพปัจจุบันของการบริหารผู้ประเมินภายนอกของ
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.)
ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ซึ่งพบว่าสัดส่วนของโรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินภายนอกเพิ่มขึ้น
แต่ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนที่ได้รับการประเมินในระดับชาติกลับมีแนวโน้มลดลง
ส่วนปัญหาที่พบของสถานศึกษาคือ
สมศ.ให้ข้อเสนอแนะไม่ชัดเจนและไม่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา
เนื่องจากผู้ประเมินยังไม่มีความเป็นมืออาชีพ
นางนิจิรา กล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมยังมีข้อเสนอแนะว่า
สมศ.ควรปรับปรุงกระบวนการบริหารผู้ประเมินแนวใหม่จากการเป็นผู้บริหารจัดการ
เองทั้งหมดให้เปลี่ยนเป็นหน่วยประเมินมีส่วนร่วมในการบริหารผู้ประเมินร่วม
กับ สมศ. มากขึ้น เป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ
และผู้ประเมินเป็นผู้ร่วมธุรกิจที่รับผิดชอบต่อข้อเสนอแนะที่จัดทำเป็น
รายงานต่อสถานศึกษา โดย สมศ. เป็นผู้กำหนดมาตรฐานการทำงาน
และควบคุมคุณภาพทั้งกระบวนการ
การสร้างมาตรฐานจึงจะเป็นการดึงความรู้ที่สะสมในตัวบุคคล
เพื่อถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น
ทำให้เกิดองค์ความรู้ของการประเมินคุณภาพภายนอกของชาติได้
ส่วนความเป็นมืออาชีพต้องมีการพัฒนาผู้ประเมินรุ่นใหม่
ด้วยการจัดให้มีหลักสูตรด้านการประเมินคุณภาพ ในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
โดยเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ 12 หน่วยกิตขึ้นไป
"นอกจากนี้ผู้ประเมิน ควรตระหนักถึงคุณภาพในทุกขั้นตอนการทำงาน
และติดตามการนำข้อเสนอแนะไปปฏิบัติ รวมทั้งติดตามผลลัพธ์ที่ได้ด้วย
ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณค่าให้แก่รายงานข้อเสนอแนะ
และสมศ.ควรพิจารณาให้ผลตอบแทนแก่ผู้ประเมิน เพื่อสร้างแรงจูงใจด้วย"
นางนิจิรา กล่าว
ที่มา เดลินิวส์ วันจันทร์ 26 มกราคม 2558 |
โพสเมื่อ :
27 ม.ค. 58
อ่าน 1417 ครั้ง คำค้นหา :
|
|