อ่านออก-เขียนได้
เลาะเลียบคลองผดุงฯ
ตุลย์ ณ ราชดำเนิน [email protected]
เมื่อวันที่ 8 ก.ย. 2508 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจากทั่วโลก
เดินทางสู่กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน
เพื่อร่วมเขียนประวัติศาสตร์สำคัญอีกหน้าหนึ่งเกี่ยวกับการศึกษา
ซึ่งภารกิจของนานาประเทศในครั้งนั้น คือการ "ขจัดการไม่รู้หนังสือ"
ของประชาชนทั่วโลกให้หมดไป
เนื่องจากพบว่า ประชากรโลกรวมกันแล้วกว่า 4 พันล้านคน
ซึ่งถือว่าเป็นทั้งผู้ขาดโอกาสและอิสรภาพจากการไม่รู้หนังสือ
จึงมิอาจพ้นจากการกดขี่ ความยากจน และอิสรภาพที่จะทำสิ่งใหม่ๆ ได้
ดังนั้น "องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ" หรือ
"องค์การยูเนสโก" จึงประกาศให้วันที่ 8 ก.ย. ของทุกปี คือวัน International
Literacy Day หรือ "วันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ" และได้จัดแผนงานให้
ระหว่างปีค.ศ.2001-2010 เป็นทศวรรษแห่งการรู้หนังสือ และได้ผ่านไปแล้ว
ตัวเลขของผู้ที่ขาดทักษะการรู้หนังสือขั้นพื้นฐานทั่วโลก ที่สำรวจพบในปี
2552 ยังมีสูงถึง 793 ล้านคน
ทำให้พลาดสิทธิ์ทางการศึกษาและเสี่ยงต่อการเกิดคนรุ่นใหม่ที่ไม่รู้หนังสือ
มากกว่า 67 ล้านคน
ผลสำรวจของธนาคารโลก พบอัตราการรู้หนังสือในอาเซียน ช่วงปี 2550-2553
ฟิลิปปินส์ สูงสุด ร้อยละ 95.4 บรูไน ร้อยละ 95.3 สิงคโปร์ ร้อยละ 94.7
ไทยอันดับ 4 ร้อยละ 94.1 อันดับ 5 เวียดนาม ร้อยละ 92.8 มาเลเซีย ร้อยละ
92.5 อินโดนีเซีย ร้อยละ 92.2 พม่า ร้อยละ 92 กัมพูชา ร้อยละ 77.6 และ ลาว
ร้อยละ 73.4
ล่าสุด ยูเนสโกรายงานสถานการณ์ของเด็กเยาวชนในปี 2555
พบทั่วโลกมีเด็กระดับประถมศึกษาต้องออกจากระบบกว่า 57 ล้านคน
และประมาณการว่ามีเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง 250
ล้านคน
แน่นอนว่า ตัวเลขที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
สำรวจพบเด็ก ป.3 ทั่วประเทศที่อ่านไม่ออกเขียน ไม่ได้เลยมีถึงจำนวน 27,000
คน แต่จะต้องได้เลื่อนระดับชั้นที่ สูงขึ้น นี้ไม่รวมตัวเลขนักเรียนชั้น
ป.6 ที่อ่านไม่ได้เลยอีกจำนวน 7,880 คน
ตัวเลขข้างต้นจะน้อยหรือมาก
ก็เป็นการสะท้อนปัญหาระบบการศึกษาไทยที่จำเป็นต้องเร่งปรับปรุงและมีความ
กล้าหาญในการเผชิญกับความจริงเรื่องการอ่านออก-เขียนได้
ท้ายสุดต้องไม่มีการปกปิดตัวเลขแห่งความล้มเหลวของ
ผู้บริหารโรงเรียนและนโยบายที่กำหนดมาจากระดับนโยบาย
มากกว่าจะจับตัวครูเป็นจำเลยอย่างที่ผ่านมา
ที่มา ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557