![]() |
เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมระดมความเห็น และการประชุมกลุ่มย่อยกับผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ในเวทีรับฟังความเห็นการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมา ขณะนี้ได้ข้อสรุปเบื้องต้นเรื่องการปฏิรูปครูแล้วในประเด็นการให้คนที่มีความรู้ความสามารถ แต่ไม่ได้จบครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ได้เข้ามาเป็นครู โดยกรณีของครูสายอาชีวะ ได้เสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ไปแล้ว ให้ยกเว้นใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในบางสาขาวิชาที่ขาดแคลน หรือสาขาที่ไม่ได้มีการผลิต เช่น สาขาช่างทองหลวง เป็นต้น ส่วนรายละเอียดนั้น หลังจากที่ คสช.เห็นชอบในหลักการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จะต้องหารือร่วมกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เพื่อทำรายละเอียดอีกครั้ง เช่น จะยกเว้นสาขาวิชาใดบ้าง และจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง นางสุทธศรีกล่าวต่อว่า สำหรับผู้ที่จบสาขา อื่นๆ เช่น นักเรียนทุนโอลิมปิก ทุน สควค. เป็นต้น ที่จะเข้ามาเป็นครูมี 3 แนวทางที่จะดำเนินการ ได้ ได้แก่ 1.กลุ่มที่ไม่ได้จบสายครู แต่ได้มาเป็น ครูผู้ช่วย ในระหว่างที่สอนให้ถือว่าเป็นการฝึก ปฏิบัติการสอนตามที่ พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา มาตรา 44 (3) กำหนดให้ผู้จะขอรับใบอนุญาตฯจะต้องฝึกปฏิบัติการ สอนในสถานศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ซึ่งเมื่อเป็นครูผู้ช่วยหรือสอนครบ 2 ปี จะมีสิทธิได้รับใบอนุญาตฯ โดยไม่ต้องไปฝึกปฏิบัติการสอน 2.ให้คุรุสภาออกใบอนุญาตปฏิบัติการสอนชั่วคราวแก่ผู้ที่จบสาขาอื่น เพื่อนำไปสมัครสอบเป็นครูผู้ช่วยได้ หากสอบบรรจุได้และสอนครบ 2 ปี ให้ได้ใบอนุญาตฯ ตามแนวทางแรก ซึ่งปัจจุบันการออกใบอนุญาตปฏิบัติการสอนชั่วคราวจะออกให้เฉพาะผู้ที่สอนอยู่ในโรงเรียนและยังไม่มี ใบอนุญาตฯ เท่านั้น และ 3.เปิดโอกาสผู้ที่ไม่ได้ จบสายครูมาสอบ เพื่อให้มีใบอนุญาตฯ และหาก สอบได้ก็ให้เรียนเพิ่มเติมหรืออาจไปสอนใน โรงเรียนเพื่อให้มีคุณสมบัติที่จะได้รับใบอนุญาต บรรยายใต้ภาพ --มติชน ฉบับวันที่ 26 ก.ค. 2557 (กรอบบ่าย)-- |
โพสเมื่อ : 25 ก.ค. 57 อ่าน 1630 ครั้ง คำค้นหา : |