สงสารคนอาชีวะ
เลาะเลียบคลองผดุงฯ
ตุลย์ ณ ราชดำเนิน [email protected]
อาชีวศึกษามีบทบาทอย่างมากต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แม้แต่
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
ยังให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับงานการศึกษาอาชีวะ
ภายใต้การกำกับขับเคลื่อนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)
เร่งพัฒนาและผลิตกำลังคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ
เมื่อมาดูถึงแรงกดดันจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ให้สอศ.เพิ่มสัดส่วนนักเรียนสายอาชีวศึกษาต่อสายสามัญให้สูงขึ้น
จากสัดส่วนเดิม 36:64 เป็น 40:60 หรือ 45:55 ในปีการศึกษา 2558
ดูแล้วน่าทำได้ยาก แต่ก็ยังเห็นความพยายามของเลขาธิการ
กอศ.อยู่ในทุกวาระลงพื้นที่แบบไม่ระย่อ
ยิ่งมาดูถึงปัญหาขาดแคลนครูผู้สอนแล้วจะพบว่า
สอศ.มีปัญหาขาดแคลนครูเรื้อรังมานานถึง 21 ปี ตั้งแต่ปี 2536-2557 ถึง
19,686 อัตรา ต้องใช้วิธีจ้างครูสอนชั่วคราว หรือครูอัตราจ้าง
มาทำหน้าที่แทนหากไม่จ้างจะต้องลดจำนวนนักศึกษาลงไปถึง 2 แสนคน
มาสองวันนี้ ได้ยินว่า ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการ กอศ.
ได้รับการจัดสรรอัตราข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดเกษียณอายุ
ราชการ
หักตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาที่จะเรียกบรรจุจากผู้ผ่านการคัดเลือกที่สอบ
ขึ้นบัญชี 104 อัตราแล้ว
จะเหลือเป็นตำแหน่งครูรวมกับอัตราว่างที่มีอยู่เป็น 545 อัตรา
ตำแหน่งครูในสังกัดสอศ.ที่ว่านี้
จะดำเนินการเปิดสอบคัดเลือกจากพนักงานราชการหรือลูกจ้างในสังกัดทำงานมาแล้ว
ไม่น้อยกว่า 3 ปีจำนวน 80% หรือเพียง 436 ตำแหน่ง
ที่เหลือ 20% หรืออีก 109 คน
จะเปิดโอกาสให้กับกลุ่มสาขาวิชาชีพขาดแคลนที่คุรุสภาเคยอนุมัติไว้
มาสอบแข่งขันเป็นข้าราชการครูได้ด้วย
ดูแล้วไม่เป็นธรรมแก่พนักงานราชการหรือลูกจ้างในสังกัดสอศ.ที่เขาเฝ้ารอ
โอกาสนี้มาทั้งชีวิต
บางคนสอนมาหลายปีไม่มีสวัสดิการ ถูกดูแคลนว่าเป็นชนชั้นสองแห่งใบเสมา
ทนอยู่อย่างไร้เกียรติศักดิ์ศรี ไร้ความมั่นคงความก้าวหน้า ทำงานหนัก
เสียสละ รักนักเรียน ล้วนมีส่วนพัฒนาการอาชีวะศึกษาทั้งสิ้น
คนเหล่านี้ล้วนเคยกินข้าวหม้อเดียวกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุข
เปรียบเสมือนคนในครอบครัวเดียวกันยาวนาน
เป็นผู้ร่วมสร้างอาชีวะแต่ละแห่งจนเติบใหญ่
เปรียบดั่งคนขุดบ่อน้ำให้คนที่อยู่ได้อาศัยอาบกินอย่างมีความสุข
แต่ทำไมไม่คิดจะดูแลส่งเสริมเมื่อมีโอกาส
ที่มา ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2558