![]() |
เรียน อาชีวะ พัฒนาชาติ ว่ากันว่าการเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีวศึกษาต่อสายสามัญเป็น 51 ต่อ 49 ภายในปีการศึกษา 2558 โดยเบื้องต้นปีการศึกษา 2557 จะเพิ่มเป็น 45 ต่อ 55 จากปัจจุบัน 36 ต่อ 64 เพิ่มขึ้นประมาณ 9% หรือประมาณ 75,600 คน จากปัจจุบันมีนักเรียนสายอาชีวศึกษา 383,000 คน สายสามัญ 408,500 คน ส่วนปี 2558 จะเพิ่มสัดส่วนเป็น 51 ต่อ 49 คงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะต้องเพิ่มรับนักเรียนสังกัด สอศ.ประมาณ 46,700 คน และหน่วยงานอื่นๆ จะเพิ่มนักเรียน 29,900 คน จะทำได้ก็ต่อเมื่อ สพฐ.ต้องลดรับนักเรียนจบชั้น ม.3 ขึ้น ม.4 น้อยลงประมาณกว่าแสนคนเลยทีเดียว ดร.อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล ประธานกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวว่า ประเทศไทยมีแผนพัฒนาในการลงทุนมากมาย โดยเฉพาะการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน และการลงทุนเรื่องน้ำ การแก้ปัญหาน้ำท่วม แต่ปัญหามีบุคลากรไม่เพียงพอ เพราะตามแผนการพัฒนาและการลงทุนต่างๆ ต้องการกำลังคนถึง 5 แสนคน แต่วันนี้ผลิตช่างเทคนิคได้ไม่ถึง 70% หรือไม่ถึง 3 แสนคนเท่านั้น ปัจจุบันอาชีวศึกษามีนักศึกษาเพียง 2.8 แสนคน หากจะให้ได้ตามเป้าหมายต้องมีเด็กเข้าเรียนสายอาชีพไม่ต่ำกว่า 4แสนคน จึงยังขาดอยู่อีกถึง 1.2 แสนคน หากมองตัวเลขนักเรียน ม.3 ในปัจจุบันที่มี 8.5 แสนคน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะดึงเด็กมาเรียนสายอาชีพได้ทันทีภายในปีสองปีนี้ แต่ถ้าทำได้ภายใน 5 ปีก็ถือว่ายังไม่สายเกินไป โดยทุกฝ่ายต้องหันมาให้ความร่วมมือในการแนะแนวทางเลือกให้เด็ก ให้ประสบความสำเร็จให้ได้ ต้องทำให้ได้อย่างน้อยปีละ 5 หมื่นคน โดยเฉพาะครูแนะแนวต้องให้ข้อมูลแก่เด็ก ต้องมีการจัดโรดโชว์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา นักเรียนคนใดชอบเรียนปฏิบัติก็แนะนำให้มาเรียนสายอาชีพ เพราะประเทศต้องพัฒนา ถ้าไม่แนะนำให้เด็กมาเรียนสายอาชีพโอกาสพัฒนาประเทศก็จะยากขึ้น และขณะนี้มีบริษัทเอกชนหลายแห่งให้ทุนเรียนสายอาชีพมากขึ้น ถ้าเด็กไทยไม่เรียน ต่อไปเด็กจากพม่าและลาวจะมาเรียนและทำงานแทน ปัญหาก็คือ จะทำอย่างไรกับค่านิยมของผู้ปกครองที่ว่าอยากให้ลูกเรียนปริญญาตรี สมัยก่อนจะบอกว่าคนเรียนเก่งให้เรียน ม.ปลาย สายสามัญ ถ้าไม่เก่งให้เรียนสายอาชีพ แต่ทุกวันนี้เด็กก็เรียนไม่ตรงกับความต้องของตลาดแรงงาน ไม่สามารถเรียนในสาขาที่ตัวเองต้องการเรียนได้ เพราะมีอัตราการแข่งขันสูง บริษัทชั้นนำก็จะคัดเลือกแต่คนที่ได้เกียรตินิยม ทำให้เด็กจบมาไม่มีงานทำ ขณะที่เด็กที่เรียนจบ ปวส.จะสามารถทำงานได้ทันที และยังเรียนต่อระดับปริญญาตรีได้ แต่ต้องยอมรับว่ายังมีปัญหาเรื่องภาพลักษณ์อาชีวศึกษา โดยเฉพาะปัญหาทะเลาะวิวาทที่ทำให้ผู้ปกครองไม่อยากให้ลูกหลานมาเรียน จึงจำเป็นต้องช่วยกันแก้ภาพลักษณ์ให้ได้ ซึ่งครูแนะแนว และผู้บริหารทุกสังกัดจะต้องร่วมมือกัน ส่งเสริมให้เด็กมาเรียนสายอาชีพเพิ่มขึ้น ที่สำคัญจะต้องสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 เข้าศึกษาต่อสายอาชีวศึกษาเพิ่มขึ้นด้วยการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนระบบทวิภาคีร่วมกับสถานประกอบการ โดยสถานประกอบการจะรับหมายว่า 2 ปี จากนี้จะมีเด็กเรียนอาชีวะเพิ่มขึ้นเป็น 4 แสนคน เป็นโจทย์ที่ท้าทายมาก และผู้อำนวยการวิทยาลัยต้องเร่งปรับภาพลักษณ์อาชีวะ โดยจัดโรดโชว์ไปที่โรงเรียนมัธยม รวมถึงเปิดวิทยาลัยต้อนรับ เพื่อสื่อให้เห็นว่าจบในสายอาชีพจะทำงานอะไรได้บ้าง มีรายได้ดี จัดการศึกษาในระบบทวิภาคี ที่สำคัญต้องให้เด็กรู้ว่าไม่ว่าจะเรียนเก่งหรือไม่เก่งสุดท้ายแล้วต้องมีอาชีพทุกคน ประเทศชาติถึงจะอยู่รอด อีกทั้งขณะนี้บางคนมุ่งเรียน ที่มา คมชัดลึก |
โพสเมื่อ : 03 ก.พ. 57 อ่าน 2427 ครั้ง คำค้นหา : |