![]() |
สพฐ.ออกโมเดลแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กกับโรงเรียน ขนาดเล็กมาก มีนักเรียนน้อยกว่า 160 คน ควบรวมเต็มตัวเข้ากับโรงเรียนศูนย์กลางที่มีขนาดใหญ่เข้มแข็งกว่า โดยเลือก รร.มีระยะห่างระหว่างกันไม่เกิน 3 กม. ยันรวมกันแค่ชั่วคราวเท่านั้น นอกจากนี้อาจยังมีการรวมชั้นเรียนในโรงเรียนเดียวกันหรือควบรวมชั้นเรียน ระหว่าง รร.ในบางชั้น บางวิชา นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวถึงกรณีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีแผนดำเนินการแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กอย่างเร่งด่วน ว่า จากการที่ตนได้มีโอกาสหารือกับนายตวง อันทะไชย ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษาและการกีฬา สนช. โดยหลักการแล้ว สนช.มีความเห็นในทิศทางเดียวกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) คือไม่ต้องการยุบโรงเรียนขนาดเล็กแน่นอน แม้ว่าจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและทำให้การบริหารจัดการง่ายขึ้นก็ตาม และ สพฐ.เองก็มีความต้องการจะต้องรักษาโรงเรียนเหล่านี้ไว้ให้แก่เด็กที่อยู่ใน พื้นที่ห่างไกล อย่างไรก็ตาม
แต่แนวทางแก้ไขจำเป็นต้องมีการปรับกระบวนการจัดการให้โรงเรียนมีประสิทธิภาพ
มากขึ้น
แต่ถ้าหากโรงเรียนแห่งใดไม่สามารถพัฒนาได้ก็จะมีกระบวนการเข้ามาช่วยเหลือ
เช่น การควบรวมชั้นเรียนในโรงเรียนเดียวกัน,
การควบรวมระหว่างโรงเรียนในบางกรณี เช่น
รวมเพียงแค่บางชั้นเรียนหรือบางวิชาเท่านั้น
และการควบรวมแบบควบเต็มตัวเป็นการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กที่มีเด็กเรียน
จำนวนน้อยกว่า 60 คนควบรวมกัน เลขาธิการ กพฐ.กล่าวอีกว่า การควบรวมดังกล่าวทาง สพฐ.ดำเนินการจัดกลุ่มโรงเรียนประมาณ 300-400 กลุ่ม โดยให้สำนักงานเขตพื้นที่ฯ เป็นผู้คัดเลือกโรงเรียนที่จะเป็นโรงเรียนศูนย์กลางในแต่ละกลุ่ม โดยจะย้ายโรงเรียนขนาดเล็กมากมาควบรวมกับโรงเรียนศูนย์กลาง และระยะทางระหว่างโรงเรียนศูนย์กลางและโรงเรียนขนาดเล็กมากจะต้องมีระยะห่าง ไม่เกิน 3 กิโลเมตร นอกจากนี้ เบื้องต้นผู้บริหารโรงเรียนที่ได้รับเลือกให้เป็นโรงเรียนศูนย์กลางจะเป็น ผู้อำนวยการ ส่วนผู้บริหารจากโรงเรียนขนาดเล็กที่ย้ายมาควบรวมจะอยู่ในตำแหน่งรองผู้ อำนวยการชั่วคราว เมื่อย้ายกลับไปยังโรงเรียนตนแล้วก็กลับเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเช่นเดิม แต่ยังคงต้องมีการพูดคุยถึงรายละเอียดในกรณีที่ผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กมี ความอาวุโสกว่า ก็อาจจะมีการปรับหลักเกณฑ์ตรงนี้ "การควบรวมต้องมีการขนย้ายโต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์การเรียนการสอนมายังโรงเรียนที่เป็นศูนย์กลางด้วย ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายรายหัวและเงินเดือนครูจะติดตามตัวเด็กและครูมายังโรงเรียน ศูนย์กลางด้วย และยังต้องมีการหารือเรื่องการเดินทาง โดยใช้รถโดยสารรับ-ส่งนักเรียนระหว่างโรงเรียนศูนย์กลางกับโรงเรียนของพวก เขา โดยจะพูดคุยกับองค์กรส่วนท้องถิ่นให้เป็นผู้บริหารจัดการเรื่องรถโดยสาร น่าจะเป็นประโยชน์แก่เด็ก" นายกมลกล่าวอีกว่า แม้ว่าจะมีการควบรวมโรงเรียนเข้าด้วยกัน แต่ สพฐ.เองก็ไม่ได้นิ่งเฉยกับโรงเรียนเหล่านั้น ยังคงพัฒนาและจัดสรรงบดูแลอาคารสถานที่เพื่อให้โรงเรียนขนาดเล็กมากดังกล่าว ยังคงอยู่มี มีการเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาทุกวัน เพียงแต่ไม่มีผู้เรียนและครูเท่านั้น แต่เมื่อโรงเรียนขนาดเล็กมากมีความพร้อมสำหรับการพัฒนาประสิทธิภาพ ก็สามารถกลับมายังโรงเรียนของตนได้ทันที "เรายังมองอีกว่าการควบรวมดังกล่าวนอกจากจะแก้เรื่องการเรียนการสอนแล้ว ยังเป็นการสร้างสังคมใหม่ๆ ให้แก่เด็กโรงเรียนขนาดเล็กมาก เพื่อจะมีครูและเพื่อนที่เพิ่มขึ้นด้วย” เลขาฯ กพฐ.กล่าว.
ที่มา ไทยโพสต์ 26 มกราคม 2558 |
โพสเมื่อ : 26 ม.ค. 58 อ่าน 1412 ครั้ง คำค้นหา : |