![]() |
เครื่องกายภาพบำบัดฝีมือเด็กอาชีวะ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีนโยบายในการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ เน้นการผลิตกำลังคนให้มีคุณภาพมาตรฐาน มีเส้นทางอาชีพ เพื่อสนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตลอดจนให้มีการรับรองสมรรถนะของบุคคลในการประกอบอาชีพ เสริมสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการ และสร้างค่านิยมที่ดีต่อการอาชีวศึกษา เพื่อสนองตอบความต้องการกำลังคนในการพัฒนาประเทศ วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา แผนกช่างไฟฟ้ากำลัง ออกแบบและพัฒนาเครื่องกายภาพบำบัดข้อไหล่ให้นำไปใช้งาน ได้จริง และเห็นผลตามที่คาดไว้ จากการสอบถามนักกายภาพบำบัด มีปัญหาหลายประการ คือ เครื่องกายภาพ บำบัดของโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ที่เรียกว่า Shoulder Wheel ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้และมีที่ปรับระดับความสูง-ต่ำ ได้ ในขณะที่ผู้ป่วยไม่มีแรงแขนก็จะไม่สามารถใช้เครื่องภายภาพบำบัดดังกล่าวได้ จึงต้องติดตั้งมอเตอร์และชุดบอร์ด Drive motor เข้าไปในเครื่องกายภาพบำบัดทำให้มือจับขับเคลื่อนได้อย่างอัตโนมัติ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่เข้ารับการกายภาพบำบัดที่ไม่ค่อยมีแรงสามารถใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น นายทัตเทพ ชูแก้ว นักศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) 2 แผนกช่างไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา อธิบายว่า ต้องการสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นนวัตกรรมเครื่องกายภาพบำบัดข้อไหล่ ให้มีประสิทธิภาพในการทำงานกายภาพบำบัดข้อไหล่กับผู้ป่วยโรคข้อไหล่ได้ รวมถึงลดอุปสรรคในการทำกายภาพบำบัดข้อไหล่ของผู้ป่วย ซึ่ง จะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำกายภาพ บำบัดข้อไหล่ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งสามารถฟื้นฟูรักษาระบบโรคข้อไหล่เสื่อมได้ สำหรับขั้นตอนในการประดิษฐ์นั้นประกอบด้วย โครงเหล็ก มือจับขับเคลื่อน เหล็กเพลายาว ตุ๊กตายึดเพลา/ล้อ PC 18F8722 มอเตอร์เกียร์ DC บอร์ด DC Drive กล่องคอนโทรล Power supply โดยมีระบบควบคุมไฟฟ้า 220 โวลต์ ต้องการพัฒนาอุปกรณ์ช่วยกายภาพ บำบัด เพราะเห็นว่าในปัจจุบันมีผู้สูงอายุจำนวนมากที่ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ และไม่สามารถเดินได้ ตามปกติ จึงต้องการพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ และมี ประสิทธิภาพมากพอสำหรับทำกายภาพบำบัดได้ การประดิษฐ์อุปกรณ์ดังกล่าวช่วยให้นำหลักวิชาที่เรียนมามาประยุกต์ใช้ได้มากมาย ทั้งทฤษฎีไมโครคอนโทรลเลอร์ การใช้วงจรป้องกันแรงดันย้อนกลับที่เกิดจากการหมุนของมอเตอร์ การควบคุมความเร็วของมอเตอร์ และอื่น ๆ เชื่อว่า การสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ให้มีแบบแผนให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมนั้น จะทำให้เด็กอาชีวศึกษาได้รับการพัฒนาอย่างมีแบบแผน พร้อมที่จะยกระดับฝีมือของตัวเองสู่คุณภาพมาตรฐานและประสบการณ์ ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลได้. --เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 9 เม.ย. 2557 (กรอบบ่าย)-- |
โพสเมื่อ : 08 เม.ย. 57 อ่าน 4138 ครั้ง คำค้นหา : |