![]() |
โครงการ กศน.เรียนจบ ม.6 ภายใน 8 เดือน นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้า โครงการ กศน.เรียนจบ ม.6 ภายใน 8 เดือน ว่า โครงการจบ ม.6 ใน 8 เดือน ไม่ใช่นโยบายประชานิยม แต่เป็นการ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนด้วยการศึกษา โดยเน้นที่คุณภาพ ดังจะเห็นได้จาก ผลการเปิดรับสมัคร ที่มีผู้เข้าสมัครกว่า 9 หมื่นคน แต่สอบผ่านระดับต้นเพียง 3 พันคนเท่านั้น และผู้สอบผ่านเกณฑ์ทุกวิชาประมาณ 100 กว่าคน ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าข้อเท็จจริงที่ เกิดขึ้น ไม่ตรงกับความเข้าใจของสังคมเลย ซึ่งโครงการนี้เน้นคุณภาพมาก ไม่ใช่ โครงการที่เข้าง่ายออกง่าย และไม่มีคุณภาพอย่างที่เข้าใจกัน นอกจากนี้ รักษาการรัฐมนตรีว่า การกระทรวงศึกษาฯ ยังได้กล่าวเพิ่มเติม อีกว่า มีผลความคืบหน้าของงานที่ กศน.ได้รับมอบหมายไปจากตนอีกหลายเรื่อง ได้แก่ 1.การจัดการศึกษาให้ประชาชนรู้หนังสือ โดยศธ.มีเป้าหมายให้คนไทยตั้งแต่อายุ 15-59 ปี รู้หนังสือ เพราะจากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2554 พบว่า กลุ่ม อายุดังกล่าวไม่รู้หนังสือถึง 45% ซึ่งขณะนี้ กศน.ได้ จัดทำแผนเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจัง 2.การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษานอกระบบในระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งในปีนี้ กศน. ได้กำหนดให้เป็นปี แห่งการยกระดับคุณภาพสู่สากลภายใต้การพัฒนาคุณภาพ 6 มิติ ประกอบด้วย ผู้เรียน รูปแบบการเรียน การจัดการ เรียนรู้ สื่อการเรียน ครูผู้สอน และการบริหารจัดการ ปัจจุบัน กศน.ได้พยายามลดสัดส่วนครูต่อผู้เรียนในกลุ่ม ผู้เรียนปกติจาก 1:80 มาเป็น 1:60 กลุ่มผู้เรียนพิการทางสติปัญญา 1:5 กลุ่มผู้เรียนพิการทางร่างกาย 1:10 กลุ่ม ผู้เรียนพื้นที่พิเศษ 1:35 และ 3.การจัด การศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ซึ่งกศน. ได้จัดทำโครงการ 1 จังหวัด 1 ห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีงานทำโดยเน้นผู้เรียนที่มีงานทำแล้วเท่านั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาด้านอาชีพ ซึ่งรับได้ประมาณ 30,000 คนต่อปีเท่านั้น นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ จากการนำเสนอความคืบหน้าดังกล่าว จึงได้มอบให้ กศน. ไปดำเนินการต่อ โดยเรื่องการจัดการศึกษาให้ประชาชนรู้หนังสือนั้น ให้ไปศึกษาประสบการณ์เทียบเคียงกับการดำเนินการเรื่องนี้ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อนำประสบการณ์ที่ดีมาใช้ให้แน่ใจว่าจะสอนให้ประชาชน ได้รู้หนังสืออย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ ส่วนเรื่องสัดส่วนครูต่อนักเรียนนั้น ได้ให้ ไปศึกษาถึงสัดส่วนที่เหมาะสม โดยเฉพาะ ระบบที่ใช้ในการอุดหนุนการศึกษานอกระบบ ที่จะสามารถทำให้ไปพัฒนาคุณภาพการศึกษา ได้ดีขึ้น เนื่องจากเงินอุดหนุนรายหัว ที่รัฐจัดสรรให้นั้น กศน.ต้องนำไปใช้ เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคารสถานที่ ค่าน้ำ ค่าไฟและค่าจ้างครู ดังนั้นเมื่อเทียบ การจัดการศึกษากับหน่วยงานอื่น เช่น สพฐ. จะพบว่าเงินที่ใช้ในการพัฒนา คุณภาพการศึกษาของ กศน. อยู่ในระดับ ต่ำมาก จึงทำให้การขยายโอกาสทาง การศึกษาอย่างมีคุณภาพเป็นไปได้ยาก ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า |
โพสเมื่อ : 06 ก.พ. 57 อ่าน 1380 ครั้ง คำค้นหา : |