![]() |
ศ.สุพจน์ หารหนองบัว คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวถึงระบบการศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันว่า ส่วนตัวไม่กังวลกับหลักสูตร เพราะมีการพัฒนาเพิ่มเติมเนื้อหาสาระมาอย่างต่อเนื่อง แต่กังวลกับวิธีการเรียนการสอน ที่ครูในโรงเรียนยังคงเน้นการสอนแบบท่องจำ มากกว่าสอนให้เด็กคิดวิเคราะห์ เพื่อเป็นนักคิดนักปฏิบัติ เพราะวิธีการสอนนี้อาจใช้ได้เฉพาะในอดีต ที่เนื้อหาองค์ความรู้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเหมือนปัจจุบัน ขณะนี้การเรียนการสอน นอกจากการท่องจำแล้ว ยังจำเป็นต้องสอนให้นักเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากผู้เสพความรู้จากครู เป็นผู้สร้างความรู้ โดยเรียนรู้ด้วยตัวเองและนำมาเสนอถกกันในชั้นเรียน เช่น ในชั่วโมงเรียนควรจัดแบ่งเวลา 30-40 นาที ให้เป็นชั่วโมงแห่งการถกเถียง แลกเปลี่ยนโดยใช้เหตุผล เพราะจะทำให้นักเรียนต้องคิด ต้องศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล และเมื่อทำสม่ำเสมอ เด็กจะกลายเป็นนักนวัตกรรม นักคิดนอกกรอบและนักคิดสร้างสรรค์ได้ "ตอนนี้ระบบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์เงียบมาก
ไม่มีแนวทางพัฒนาการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจน
เป็นรูปแบบต่างคนต่างทำ ผมอยากให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
กำกับนโยบายการพัฒนาการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ให้ชัดเจนเป็นรูปธรรม
เช่น เปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอน การวัดประเมินโรงเรียน ครู
ปรับข้อสอบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย เป็นข้อสอบคิดวิเคราะห์ เป็นต้น
เพราะเราต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมการเรียนในห้องเรียน
โดยครูต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เถียง นำข้อมูลมาแลกเปลี่ยน
ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอน ดังกล่าว
ต้องเริ่มในชั้นประถมศึกษาไปจนถึงอุดมศึกษา
เพราะหากไม่เปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอน
ประเทศไทยก็คงตกอยู่ในยุคสมัยการศึกษาแบบ Education 1.0
ครูบอกนักเรียนจำต่อไป ในขณะที่นานาประเทศเป็นยุคการศึกษา Education 4.0
สร้างนวัตกรรมหมดแล้ว" ศ.สุพจน์กล่าว
|
โพสเมื่อ : 11 ส.ค. 58 อ่าน 1737 ครั้ง คำค้นหา : |