เลาะเลียบคลองผดุงฯ
ตุลย์ ณ ราชดำเนิน [email protected]
ขณะที่ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาของรัฐจำนวนหนึ่งและสภาวิชาชีพ 13 แห่ง
เสนอความเห็นเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.การอุดมศึกษา ไปยังคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ไม่เห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.ออกมาใช้บังคับ อ้างมีเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น
ทำไม่ดี
เหตุไฉนจึงต้องมาบังคับสถาบันอุดมศึกษาที่ทำถูกต้องเป็นปลาติดร่างแหไปด้วย
เล่า
แต่ในมุมของกลุ่มนักวิชาการ อาจารย์ และพนักงานมหาวิทยาลัย
ซึ่งเป็นกลุ่มประชาคมใหญ่ ยังไม่แสดงท่าทีต่อเรื่องนี้อย่างเปิดเผย
เพราะไม่อยากเอาตัวเข้าแลกกับอนาคต
ที่อาจถูกมองว่าเป็นฝ่ายตรงกันข้ามกับผู้บริหาร
ในยุคสภามหาวิทยาลัยเป็นใหญ่ก็เป็นไปได้ สู้ยืนอยู่เฉยๆ จะปลอดภัยกว่า
อย่างไรก็ตาม ก็ยังเห็นความกล้าหาญในความเก๋าของอาจารย์อุดมศึกษาบางแห่ง
กล้าพูดออกมาดังๆ ว่า แม้จะมีคนไม่ดีเพียงไม่กี่คนก็ต้องจัดการตามกฎกติกา
เพื่อทำให้ส่วนใหญ่ไม่เป็นปลาเน่าไปด้วย
แถมยังขานรับถึงการมีพ.ร.บ.การอุดมศึกษา
จะเป็นเครื่องมือเข้ามาช่วยดูแลให้ระบบอุดมศึกษาเกิดคุณภาพ
เกิดธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัยมากขึ้นกว่าเดิม
สำทับด้วยคณาจารย์ที่เห็นแต่ธรรมาภิบาล ในตำราและเสียงพร่ำเพ้อของผู้บริหาร
สุดทนไหวกับพฤติกรรมสลับร่างตำแหน่งอธิการบดีปรากฏในที่ต่างๆ
เพื่อสามารถดำรงตำแหน่งหลายวาระ บ้างส่งเด็กในคาถาเป็นร่างทรง
เข้าไปนั่งเก้าอี้อธิการบดีขัดตาทัพ พักยกชั่วคราว รอการกลับมาแบบเท่ๆ 2
สมัยอยู่ยาวอีก 8 ปี
หากไม่มีทางไปจริงๆ ก็เข้าไปเป็นที่ปรึกษาอธิการบดี
เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสภา
หรือไม่ก็ทวงบุญคุณกรรมการสภาที่ตนเองเสนอแต่งตั้ง
ผลักดันให้เข้าสู่ตำแหน่งนายกสภาซะเองก็มีให้เห็นกันอยู่
วันนี้หลายแห่งเบ่งบานด้วยอำนาจและผลประโยชน์
ทั้งงบประมาณที่ผูกพันการก่อสร้าง และรายได้จากการเปิดศูนย์นอกที่ตั้ง
และกิจกรรมนอกหลักสูตรให้กอบโกยมากมาย
ขยายเครือข่ายทำธุรกิจการศึกษาขายแฟรนไชส์อื่นๆ
ชวนให้หลงใหลอยากอยู่ในอำนาจต่อไปแบบไม่มีสิ้นสุดและไม่รู้เช่นกันว่าจะสิ้น
สุดลง ณ วันใด
กับข้อเสนอที่ว่า ควรกำหนดห้ามกลับไปเป็นอธิการบดีอีกเมื่อครบ 2
วาระไม่ว่าที่ใด รวมถึงการกำหนดอายุต้องไม่เกิน 70 หรือ 80
ปีไว้ในพ.ร.บ.การอุดมศึกษาฯ ให้ชัด ยกเว้นอุดมศึกษาเอกชน
สุดท้าย คือ การแจ้งบัญชีทรัพย์สิน
ทันทีที่เข้ารับงานและหลังสิ้นสุดตำแหน่ง ภายใน 10
วันทำการจะได้รู้สักทีว่า ใครหดใครงอกคนละเท่าไร
ที่มา ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2557