"อาชีวะ"คุ!สาดสงครามน้ำลายดุเดือด
ปัญหาจัดตั้งสถาบันอาชีวะก่อสงครามน้ำลายอีกแล้ว ประธานบอร์ด กอศ.เชิดใส่
"นริศรา" เมินไม่ขอเข้าประชุมห้องเดียวกัน แก้ตัวน้ำขุ่นๆ
อ้างตัวแทนภาคเอกชนรับไม่ได้ที่ต้องเปลี่ยนเวลา เดินหน้าตั้ง 10 สถาบันต่อ
ขณะที่ รมช.ศธ.ไม่ยอมเสียเชิง ลั่นเตรียมฟ้อง "ชินวรณ์" บอร์ด
กอศ.ทำสิ่งไม่เป็นประโยชน์ ศ.ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.)
ในฐานะประธานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (บอร์ด
กอศ.) เปิดเผยถึงผลการประชุมบอร์ด กอศ.เมื่อเร็วๆ นี้ว่า
ที่ประชุมได้ยืนยันการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา 10 สถาบัน
โดยจะต้องนำเอากฎกระทรวงตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาส่งให้นำมาปรับปรุง
และเริ่มประเมินความพร้อมของสถานศึกษาแต่ละแห่งที่จะมารวมเป็นสถาบันกลุ่ม
จังหวัดในแต่ละจังหวัด นอกจากนั้นที่ประชุมยังได้มอบให้นายเฉลิมศักดิ์ นาม
เชียงใต้ คณะกรรมการบอร์ด กอศ. ในฐานะประธานอนุกรรมการฝ่ายกฎหมายของบอร์ด
กอศ.ไปดำเนินการปรับปรุงกฎกระทรวงดังกล่าวให้เป็นไปตามข้อแนะนำของคณะ
กรรมการกฤษฎีกาให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด
โดยจะต้องมีการกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนเพื่อจะได้สามารถดำเนินการจัดตั้ง
สถาบันการอาชีวะได้ทันในปี 2554 นี้
ส่วนคำแนะนำของคณะกรรมการกฤษฎีกาก็คือ
การรวมสถานศึกษาอาชีวะเพื่อจัดตั้งกลุ่มจังหวัดนั้นสามารถทำได้
แต่วิธีการรวมเท่านั้นที่ยังไม่สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การอาชีวศึกษา พ.ศ.2551
ดังนั้นกฤษฎีกาจึงแนะนำเพิ่มเติมว่าการจัดตั้งสถาบันการอาชีวะไม่ควรดำเนิน
การพร้อมกันในคราวเดียวกันทั้ง 415 แห่ง แต่อยากให้ทยอยจัดตั้ง
และต้องคำนึงถึงความพร้อมของสถานศึกษาแต่ละแห่งด้วย
ซึ่งเริ่มต้นควรค่อยๆ จัดตั้ง 9-10 แห่งก่อน
และให้ประเมินว่าที่ใดมีความพร้อมก็ให้ทางบอร์ด กอศ.
ฝ่ายบริหาร และฝ่ายการเมือง คุยกันให้เรียบร้อย ว่าจะทำทั้งหมดกี่แห่งต่อไป
สำหรับกรณีที่เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.)
ทำหนังสือถึงกฤษฎีกาเพื่อขอให้ชะลอการพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวไว้ก่อน
นั้น เป็นการกระทำโดยไม่มีการแจ้งให้บอร์ด กอศ.รับทราบตั้งแต่วันที่ 22
ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งโดยมารยาทแล้วต้องแจ้งให้ทราบก่อน
ศ.ดร.ธีรวุฒิกล่าวด้วยว่า สำหรับกรณีที่ตนและบอร์ด
กอศ.ส่วนหนึ่งไม่เข้าร่วมประชุมกับ น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เนื่องจากบอร์ด
กอศ.ที่เป็นตัวแทนจากภาคเอกชนบางรายรับไม่ได้ที่มีการเปลี่ยนแปลงเวลาและ
สถานที่การประชุม แต่เมื่อองค์ประชุมครบบอร์ด
กอศ.ก็เลยดำเนินการประชุมตามปกติ
ทั้งนี้บอร์ด กอศ.มีมติให้ทำหนังสือเชิญ รมช.ศธ.เข้าร่วมการประชุมบอร์ด
กอศ.อีกครั้งในวันที่ 8 ธ.ค.นี้ น.ส.นริศรากล่าวว่า
ที่ผ่านมามีการพูดกันมากว่า
รมช.ศธ.ในฐานะกำกับดูแลไม่เคยเข้าร่วมประชุมกับบอร์ด กอศ.เลย
ดังนั้นตนจึงได้ให้เลขาธิการ กอศ. ประสานไปยังกรรมการในบอร์ด กอศ.ทุกท่าน
เพื่อเชิญประชุม โดยได้มีการส่งโทรสารและโทรศัพท์ไปแจ้งล่วงหน้าให้กรรมการ
แต่ละท่านก่อนหนึ่งวัน
ซึ่งตนตั้งใจจะให้นโยบายเกี่ยวกับการปฏิรูปการอาชีวศึกษา
การจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาโดยขอให้ยึดตามกฎหมายและข้อวินิจฉัยของคณะ
กรรมการกฤษฎีกา ซึ่งในการประชุมวันดังกล่าว
ตนได้ขอย้ายสถานที่ประชุมมาเป็นห้องประชุมใหญ่
อาคารราชวัลลภ แต่ปรากฏว่าคณะกรรมการได้แบ่งออกมาเป็น 2 ฝ่าย คือ 14 ต่อ 14
คน โดยครึ่งหนึ่งมารับฟังนโยบายจากตน
ส่วนอีกครึ่งหนึ่งไปประชุมกับบอร์ดที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
(สอศ.) ตนในฐานะผู้กำกับดูแล
ก็ขอให้ทุกฝ่ายทำตามหน้าที่ภายใต้กฎหมาย ถ้าบอร์ด
กอศ.ทำนอกเหนือหน้าที่และไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ตนก็จะทำเรื่องหารือไปยัง
รมว.ศธ.และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาต่อไป น.ส.ศศิธารา
พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการ กอศ. กล่าวว่า
ที่ผ่านมาเกิดเสียงสะท้อนในที่ประชุมบอร์ด กอศ.ว่า
รมช.ศธ.ในฐานะกำกับดูแล สอศ. ในฐานะฝ่ายบริหารและบอร์ด
กอศ.ในฐานะกำหนดนโยบายไม่มาหารือร่วม รมช.ศธ.จึงมีการนัดประชุมดังกล่าวใน
เรื่องการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา
อย่างไรก็ตามทางสำนักงานกฤษฎีกาได้ตั้งข้อสังเกตว่าในปัจจุบันได้ดำเนินการ
ตาม
พ.ร.บ.การอาชีวศึกษา ไม่ควรทำเพียงแค่เรื่องการจัดตั้งเป็นสถาบันการ
อาชีวศึกษาเท่านั้น
แต่ยังมีขั้นตอนอื่นๆ ซึ่งหากการดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ
ได้มาอย่างไม่ถูกต้อง
ก็อาจจะมีผลให้ร่างกฎกระทรวงการรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อจัดตั้งสถาบัน
การอาชีวศึกษาเป็นโมฆะ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ประชุม
กอศ.ได้มีการตั้งข้อสังเกตว่ามาตรา 11 (2) ใน
พ.ร.บ.การอาชีวศึกษาได้กำหนดให้บอร์ด กอศ.จัดทำหลักเกณฑ์การจัดตั้ง
การรวมและการแยกสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษา และประกาศใช้
แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการประกาศหลักเกณฑ์ดังกล่าวเลย
แต่ข้ามไปคิดเรื่องการจัดตั้งก่อน. |
โพสเมื่อ :
12 พ.ย. 53
อ่าน 15067 ครั้ง คำค้นหา :
|
|
ข่าวอื่นน่าสนใจ
|