ย้ำสอบ “โอเน็ต” ต้องไม่เหลื่อมล้ำ
ได้เห็นหลายเรื่องที่สะท้อนการเรียนการสอนในช่วงการแพร่ระบาดโรคโควิด-19
ซึ่งก็มีบางเรื่องที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะต้องนำกลับไปปรับปรุงแก้ไข
เช่น การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21
และการเตรียมความพร้อมของนักเรียนในช่วงวิกฤติ เป็นต้น เมื่อวันที่
14 ส.ค. เวลา 08.00 น. ที่โรงเรียนสตรีวิทยา นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ
รมว.ศึกษาธิการ เดินทางไปตรวจเยี่ยมการทดลองเปิดเรียน 100%
เต็มรูปแบบในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19
ก่อนให้สัมภาษณ์ภายหลังการตรวจเยี่ยม ว่า
ได้เห็นหลายเรื่องที่สะท้อนการเรียนการสอนในช่วงการแพร่ระบาดโรคโควิด-19
ซึ่งก็มีบางเรื่องที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะต้องนำกลับไปปรับปรุงแก้ไข
เช่น การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21
และการเตรียมความพร้อมของนักเรียนในช่วงวิกฤติ เป็นต้น โดยในช่วงระยะเวลา 1
เดือน
ที่ผ่านมาของการเปิดภาคเรียนด้วยวิธีการสลับวันเรียนก่อนการทดลองเปิดเรียนเต็มรูปแบบเราได้เตรียมความพร้อมมาตรการต่างๆ
ร่วมกับโรงเรียน ครู นักเรียน และผู้ปกครอง
หากมีการระบาดของโรคเกิดขึ้นในรอบสองจะมีมาตรการใดรองรับบ้าง
นอกจากนี้อยากให้โรงเรียนได้ทำการบันทึกข้อมูลนักเรียนด้วยว่าเด็กเลิกเรียนแล้วไปทำอะไรที่ไหนอย่างไรบ้าง
เพื่อป้องกันและติดตามแหล่งสถานที่ว่าเด็กไปที่ไหนบ้าง
หากมีความเสี่ยงเกิดโรคจะได้เข้าควบคุมพื้นที่นั้นๆได้ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า
ส่วนการวัดผลและประเมินผลของนักเรียน
โดยเฉพาะการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐานหรือโอเน็ตนั้น ตนเข้าใจเรื่องนี้
และกำลังหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อหารือถึงความเหมาะสมในการสอบโอเน็ต
เพราะการสอบโอเน็ตปีนี้มีความเหลื่อมล้ำอย่างแน่นอน
เนื่องจากเกิดวิกฤติโรคระบาดส่งผลให้การเรียนการสอนทำได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควร
ดังนั้นจะมีการหารือกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.)
ว่าจะทำอย่างไรเรื่องการสอบโอเน็ตเฉพาะในปีการศึกษานี้
เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับเด็กทุกคน
ทั้งนี้การประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019
ในสัปดาห์หน้าตนจะนำผลการทดลองเปิดเรียนเต็มรูปแบบนี้มาเป็นองค์ประกอบใช้ตัดสินใจในการทำกิจกรรมต่างๆที่รวมกลุ่มกันมากขึ้น “ผมเห็นเรื่องที่มีความสำคัญมากหลังจากการตรวจเยี่ยมโรงเรียนครั้งนี้
คือ
โรงเรียนมีการแขวนบทเรียนไว้บนระบบออนไลน์ทำให้นักเรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น
ในเวลาหนึ่งเวลาใดที่เด็กต้องการจะค้นคว้าก็สามารถเข้าไปหาข้อมูลได้
ดังนั้นผมคิดว่าการดำเนินการในลักษณะเช่นนี้ถือเป็นการผสมผสานที่ลงตัวระหว่างการเรียนออนไลน์
และการเรียนในห้องเรียน
เพื่อปรับตัวสู่การศึกษาในอนาคตแม้ประเทศจะต้องเจอกับวิกฤติโรคระบาดขึ้นอีก
แต่การเรียนของนักเรียนก็จะไม่หยุดยั้ง
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถเรียนได้” นายณัฏฐพลกล่าว. ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ
|
โพสเมื่อ :
17 ส.ค. 63
อ่าน 407 ครั้ง คำค้นหา :
|
|
ข่าวอื่นน่าสนใจ
|