ออกกฎหมายกันบริษัทล้มละลายโอนเงินไม่ผ่าน
หวังช่วยให้ผู้โอนเงินแล้วถูกฟ้องล้มละลายโอนเงินผ่านฉลุย
หวั่นเกิดผลกระทบคนรับเงินเจอปัญหาลามเป็นลูกโซ่
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า
ที่ประชุมครม. ได้อนุมัติร่างพ.ร.บ.ระบบการชำระเงิน
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
เพื่อช่วยรองรับระบบชำระเงินและการโอนเงินได้อย่างต่อเนื่อง
และไม่ให้กระทบกับผู้ที่รับเงิน
ในกรณีที่สมาชิกในระบบถูกศาลสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ
หรือสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของสมาชิกในระบบ
ขณะเดียวกันยังเป็นการรวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2 ฉบับเข้าด้วยกัน คือ
พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการดูแลควบคุมธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ.2551 และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องกิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ5
แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58
เกี่ยวกับเรื่องการประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งจะช่วยลดความซับซ้อนของกฎหมายที่เกี่ยวกับกระบวนการชำระเงินให้มาอยู่
ที่เดียวกัน
“เดิมที กำหนดให้สถาบันหนึ่งเมื่อได้โอนเงินให้สถาบันอีกหนึ่ง
เมื่อได้โอนเงินไปแล้ว ปรากฏว่า กลับมีคำสั่งศาลให้ผู้ที่โอนเงินไปล้มละลาย
ทำให้การโอนเงินที่ทำมาแล้วต้องชะงัก หรือยกเลิก
ส่งผลกระทบกับสถาบันที่ได้รับเงิน
และเกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อไปอีกหลายส่วน
ดังนั้นกระทรวงการคลังจึงต้องเสนอกฎหมายฉบับดังกล่าวขึ้นมาด้วยการกำหนดให้
สถาบันใดก็แล้วแต่ เมื่อโอนเงินเสร็จสิ้นตามกระบวนการแล้ว
ต่อมาภายหลังมีคำสั่งของศาลมาว่า ล้มละลาย สิ่งที่โอนไปแล้ว
จะเพิกถอนกลับมาไม่ได้ เพราะถือว่าได้ดำเนินการจนสิ้นสุดไปแล้ว”
อย่างไรก็ตามสำนักงานศาลยุติธรรม ได้มีความเห็นว่า
การออกกฎหมายฉบับดังกล่าวอาจมีจุดบกพร้องบางประการ
โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องไปพิจารณาด้วยว่า
ในกรณีดังกล่าวอาจเกิดผลเสียขึ้น เช่น กรณีของบริษัทเอ
จะชำระเงินไปยังบริษัทบี โดยที่บริษัทเอ
รู้ตัวว่าบริษัทจะถูกฟ้องล้มละลายในเวลาไม่นาน
ดังนั้นจึงรีบโอนเงินไปยังบริษัทบี ที่อาจเป็นบริษัทลูก
ซึ่งอาจเป็นการยักย้ายทรัพย์ไปยังบริษัทหนึ่ง
และหากฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ก็แสดงว่า ต้องยักย้ายทรัพย์ไปได้
โดยที่คำสั่งศาลไม่มีอำนาจเพิกถอนเงินที่โอนไปกลับคืนมา
จึงอาจเกิดปัญหาขึ้น
ซึ่งที่ประชุมครม.จึงได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาราย
ละเอียด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรณีดังกล่าวขึ้น
สำหรับ สาระสำคัญของร่างกฎหมายนี้ ได้กำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.)
มีอำนาจในการจัดตั้งและดำเนินการระบบการชำระเงินที่มีความสำคัญต่อความมั่น
คงของประเทศ และกำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องที่เกี่ยวกับการดูแลระบบการชำระเงิน
ตั้งแต่ กระบวนการในการปฏิบัติงานของระบบ
คุณสมบัติและหลักเกณฑ์ในการรับสมาชิก สิทธิ หน้าที่
และความรับผิดชอบของผู้ให้บริการและสมาชิกของระบบมาตรการจัดการความเสี่ยง
ด้านต่าง ๆ
ในระบบมาตรการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบการเรียกร้องสิทธิและค่าชด
เชย และการจัดการกรณีฉุกเฉิน
พร้อมให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศกำหนดระบบชำระเงินอื่นใดเป็นระบบการชำระเงิน
ที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศได้
ทั้งนี้ยังกำหนดให้การโอนเงิน การชำระดุล หรือการหักบัญชี
ผ่านระบบการชำระเงินที่ได้ดำเนินการสำเร็จและมีผลสมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ของ
ระบบแล้วไม่สามารถเพิกถอนกลับรายการ สั่งให้แก้ไขได้ หรือหยุดระงับได้
และไม่นำผลของคำสั่งศาลพิทักษ์ทรัพย์หรือล้มละลายที่มีผลตั้งแต่ต้นวันมาใช้
บังคับกับการดำเนินการดังกล่าวผ่านระบบการชำระเงินก่อนสิ้นวันที่ศาลมีคำ
สั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการหรือมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของสมาชิก
รวมทั้งให้มีการคุ้มครองหลักประกันเพื่อการชำระดุลของสมาชิกในระบบการชำระ
เงินที่มีความสำคัญด้วย
เช่นเดียวกับการกำหนดหลักการการกำกับดูแลระบบการชำระเงินภายใต้การกำกับ
โดยให้อำนาจรมว.คลังประกาศกำหนดว่า
ระบบการชำระเงินใดบ้างที่จะอยู่ภายใต้การกำกับและเป็นผู้ออกใบอนุญาตการ
ประกอบธุรกิจ และให้อำนาจ ธปท.
ในการประกาศกำหนดคุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจและหลักเกณฑ์การขอรับอนุญาต
ลักษณะต้องห้ามการเป็นผู้บริหาร
และหลักเกณฑ์การเลิกประกอบกิจการหรือหยุดประกอบกิจการเป็นการชั่วคราว
เป็นต้น
ที่มา หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 1 ธันวาคม 2558