สทศ. ก้าวสู่ปีที่ 8 สร้างมาตรฐานการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ พัฒนาการศึกษาสู่สากล
การปฏิรูปการศึกษาในประเทศไทย เป็นผลพวงมาจากความต้องการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ด้วยการจัดการศึกษาให้สนองตอบต่อความต้องการของผู้เรียน สังคม ประเทศชาติ และกระแสโลกาภิวัตน์ โดยกำหนดองค์ประกอบ ยุทธศาสตร์ และแผนงาน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่คาดหวัง คือ ความเป็นเลิศทาง การศึกษา และคุณภาพการเรียนได้มาตรฐานสูง จัดตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาด้านการศึกษา โดยระบุให้มีการทดสอบที่ได้มาตรฐานไปสู่ระดับชาติ มีการกำหนดมาตรฐานทางการศึกษา และ จัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและทุกประเภทการศึกษา ดังนั้น จึงจำเป็นที่รัฐต้องมีองค์กรกลางระดับชาติ เพื่อตรวจสอบประเมินผลว่า การจัดการศึกษาที่เป็นการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนที่รัฐจะต้อง จัดให้ทั่วถึงนั้น มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดและมีคุณภาพเท่าเทียมกันมากน้อยเพียงใด จึงได้มีการตรา พระรชกฤษฎีกจัดตั้งสถบันทดสอบทงกรศึกษแห่งชติ (องค์กรมหชน) พ.ศ. 2548 ขึ้น สถบันทดสอบทงกรศึกษแห่งชติ (องค์กรมหชน)เรียกโดยย่อว่า สทศ. ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า National Institute of Educational TestingสService (Public Organization) เรียกโดยย่อว่า NIETS จึงจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2548 เพื่อบริหารจัดการและดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษา วิจัย และให้บริการ ทางด้านการประเมินผลทาง การศึกษาและทดสอบทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องรวมทั้งเป็นศูนย์กลางความร่วมมือด้านการทดสอบทางการศึกษาในระดับชาติและนานาชาติ สทศ. กับความสำเร็จในการพัฒนา O-NET นับตั้งแต่ปีการศึกษา 2521 เป็นต้นมา การทดสอบทางการศึกษาของไทยได้มอบให้โรงเรียนแต่ละแห่งทำหน้าที่ทดสอบแทนการสอบกลางระดับชาติ ทำให้การประเมินผลการเรียนรู้ในระดับสถานศึกษายังไม่มีเอกภาพและ ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงไม่สามารถเทียบเคียงคุณภาพผู้เรียนของแต่ละสถานศึกษาได้ เนื่องจากแต่ละสถานศึกษาใช้การทดสอบต่างกัน จำเป็นต้องมีการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) เพื่อ เทียบเคียงคุณภาพให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ ปัจจุบัน การทดสอบ O-NET เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีการกำหนดวิชาที่ใช้สอบ พัฒนาการออกข้อสอบ รูปแบบข้อสอบ และเวลาในการสอบที่เหมาะสมได้มาตรฐาน โดยใช้ทดสอบใน 3 ระดับชั้น ได้แก่ ป.6, ม.3, และ ม.6 ซึ่งช่วยยกระดับคุณภาพผู้เรียนได้ เพราะมีการนำผลการทดสอบ O-NET ไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับชั้น ม.1, ม.4 และสถาบันอุดมศึกษา ตามลำดับ ทั้งนี้ ในปีการศึกษา 2549 มีการประกาศใช้คะแนน O-NET ร้อยละ 30 เป็นองค์ประกอบในการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ระบบ Admission กลาง และต่อมากลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ได้กำหนดให้ผู้มีสิทธิเข้ามาศึกษาต่อใน คณะแพทยศาสตร์กลุ่ม กสพท. ต้องมีคะแนน O-NET ใน 5 วิชาหลัก (ภาษาไทย, สังคมศึกษา, ศาสนาและวัฒนธรรม, วิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์, ภาษาอังกฤษ) ตั้งแต่ร้อยละ 60 และตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้กำหนดให้มีการใช้คะแนน O-NET ของชั้น ป.6 และ ม.3 เป็นส่วนหนึ่งของการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในชั้น ม.1 และ ม.4 ตามลำดับ ในโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง รวมทั้งให้ระบุคะแนน O-NET ลงในแบบรายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน (ปพ.1) ด้วย นอกจากนี้ สพฐ. ยังได้กำหนดให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาใช้ผลสอบ O-NET เป็นเครื่องมือการยกระดับคุณภาพ การศึกษาทั้งระบบ ส่งผลให้มีการพัฒนาผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (กนป.) ได้กำหนดให้ใช้ผลสอบ O-NET เป็นข้อมูลในการกำหนดเป้าหมายยุทธศาสตร์และตัวบ่งชี้การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2552 2561) ที่มีเป้าหมายให้คนไทยและการศึกษาไทยมีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล โดยระบุไว้ในตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาหลักจากการทดสอบระดับชาติคะแนนเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 50 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้มอบนโยบายให้สถานศึกษา นำผลสอบ O-NET ไปใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอนอีกด้วย สทศ. เครื่องมือสำคัญสู่การปฏิรูปการศึกษาใหม่ ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า สทศ. เป็นเครื่องมือสำคัญที่ตอบสนองการปฏิรูปการศึกษาไทยรอบใหม่ โดยการสอบ O-NET ป.6 ม.3 ม.6 ทดสอบผลสัมฤทธิ์ทาง การศึกษา เป็นหนึ่งในนโยบายหลักด้านการศึกษาของรัฐบาล ที่ใช้การสอบ O-NET อันเป็นข้อสอบกลางที่เหมือนกันหมด นักเรียนทุกคนเท่าเทียมกัน ใช้วัดผลแต่ละช่วงชั้นประกันคุณภาพการศึกษา นำผลไปใช้เพื่อการศึกษาต่อ พร้อมทั้งเชื่อมโยงการปฏิบัติงานของครูผู้สอนเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ เพราะหากครูสอนนักเรียนให้ทำคะแนน O-NET ได้ดี เท่ากับนักเรียนได้เรียนครบหลักสูตรมากกว่ามาตรฐานชาติ ซึ่งเป็นการยกระดับคุณภาพครูผู้สอนและจะเป็นผลงานของครูด้วย นอกจากนี้ การใช้ข้อสอบกลางในการวัดผลยังเชื่อมโยงไปสู่นโยบายเรื่องต่างๆ ด้วย เช่น นโยบายการยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง มีการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับเยาวชน ทั้งภาคเมืองและชนบท นโยบายปฏิรูปการศึกษารอบใหม่ (Transparency and Accountability) มีการบริหารงานบุคคลที่โปร่งใส และร่วมรับผิดชอบต่อคุณภาพการศึกษาไทย และนโยบายปรับเลื่อนวิทยฐานะ ที่วัดสมรรถนะของครูและผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนอย่างโปร่งใส ปราศจากการเรียกรับผลประโยชน์ การใช้เส้นสายฝากฝัง ซึ่งจะเป็นการสร้างขวัญกำลังใจของครูทุกคนที่มีสิทธิเท่าเทียมกัน วิธีการเหล่านี้เชื่อมโยงไปยังนโยบายต่างๆ ด้านการศึกษาของรัฐบาล ที่สำคัญคือ นโยบายยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง โดยดูแล ลูกหลานประชาชนเหมือนลูกหลานของเรา และดูแลครูอาจารย์เหมือนคนในครอบครัว รัฐบาลขอให้ สทศ. เป็นหลักช่วยขับเคลื่อนการศึกษาไทย จากการดำเนินงานของ สทศ.ตลอด 7 ปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า สทศ.มีบทบาทอย่างยิ่งในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและคุณภาพการเรียนการสอน ดังนั้น ต้องการให้ สทศ.เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่เป็นหลักสำคัญในการช่วยพัฒนาผู้เรียน และพัฒนาระบบการศึกษา นอกจากนี้ รัฐบาลได้มอบหมายให้ สทศ.ดำเนินการตามนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล โดยมีแนวคิดที่จะให้ สทศ. จัดทำคลังข้อสอบ ให้ครูอาจารย์ทั่วประเทศสามารถคิดข้อสอบตามรูปแบบที่เป็นมาตรฐานของ สทศ. และส่งข้อสอบเข้าสู่ระบบจัดเก็บของ สทศ. เพื่อให้ได้ข้อสอบที่ตรงกับการเรียนการสอนในโรงเรียน เป็นข้อสอบที่นักเรียนมีความเข้าใจ เพื่อความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ซึ่งครูอาจารย์ที่คิดข้อสอบก็จะได้ผลงานด้วย สทศ. ตอบโจทย์การประกันคุณภาพผู้เรียน ศ.กิตติคุณ ดร.สมหวัง พิธิยนุวัฒน์ ประธนกรรมการบริหร สทศ. กล่าวว่า สทศ. เกิดขึ้นด้วยความคิดในการปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้มีการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษาและหน่วยงาน อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการ กระจายอำนาจก็ต้องมีการกำกับและถ่วงดุล เพื่อให้เป็นการกระจายอำนาจอย่างมีทิศทางและมีการพัฒนาคุณภาพ ความสำคัญของ สทศ. อีกประการหนึ่ง คือ การประกันคุณภาพผู้เรียน ตามหมวด 6 ใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แต่จะประกันได้หรือไม่ สทศ. จะเป็นผู้บอก หากผลการประเมินคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่ดีขึ้น แสดงว่าการประกันคุณภาพและการปฏิรูปการศึกษาของประเทศยังไม่ได้ผล อย่างไรก็ตาม การทดสอบมีมาตรฐานอยู่ 6 ข้อ แต่ที่ผ่านมา เราทำได้ 2 ข้อ คือข้อ 4 และข้อ 5 เรื่องของการคิดวิเคราะห์ กับเรื่องผลสัมฤทธิ์ตามหลักสูตร ส่วนอีก 4 ข้อ ได้แก่ เรื่องสุขภาพกายสุขภาพจิต เรื่องใฝ่รู้ และเรื่องอื่นๆ เรายังไม่สามารถวางระบบที่จะใช้ชี้วัดได้ เนื่องจากขณะนี้ เป็นเพียงระยะเริ่มต้นเท่านั้น เพราะประเทศไทยได้เลิกการทดสอบระดับชาติไปตั้งแต่ปี 2521 การหวนกลับมาทำอีกครั้งหนึ่งและได้ขนาดนี้ นับเป็นเรื่องที่น่าพึงพอใจ O-NET ปีการศึกษา 2555 มีความหมาย สะท้อนความจริง 7 ปีที่แล้วคะแนน O-NET ไม่มีผลอะไรกับผู้เรียน คะแนนที่ออกมา จึงต่ำอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ปีนี้คะแนนน่าจะเป็นตัวแทนของความเป็นจริงมากขึ้น เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้ใช้ผลการทดสอบ O-NET เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนของผู้ที่เรียนจบการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยในระยะแรกนี้ให้ใช้ผลการเรียนของผู้เรียนที่ประเมินโดยสถานศึกษาและผลการทดสอบ O-NET ในสัดส่วน 80 : 20 ส่วนในอนาคตจะเพิ่มขึ้นเป็น 70 : 30 60 : 40 จนถึงสูงสุดที่ 50 : 50 ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สำคัญของการทดสอบ O-NET 7 ปี ยินดีกับความสำเร็จของ สทศ. ผมได้เห็นวิวัฒนาการของ สทศ. มาอย่างต่อเนื่องตลอด 7 ปี ก็ต้องแสดงความยินดีกับ สทศ. ถ้ามองในปีที่ผ่านมา ผมคิดว่าได้รับการยอมรับและเรื่องภาพลักษณ์ที่ดี ถ้าดูจากข่าวสารต่างๆ การอภิปรายวิพากษ์วิจารณ์ทางลบลดลงไปอย่างมาก นับเป็นตัวบ่งชี้ที่น่ายินดีกับท่านผู้อำนวยการ กรรมการบริหาร เจ้าหน้าที่ อาจารย์ และบุคลากรทั้งหลายที่ร่วมกันทำงาน และเรื่องที่น่ายินดีอีกประการหนึ่งคือการยอมรับจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณ และยังมีทิศทางที่สอดคล้องกับสิ่งที่กรรมการบริหารต้องการ แม้การจะก้าวไปข้างหน้า สู่สากลเป็นเส้นทางที่ยังอีกยาวไกล แต่ก็เชื่อมั่นว่า ด้วยทีมงาน ด้วยผู้อำนวยการ ด้วยการสนับสนุนของรัฐบาล ของรัฐมนตรี และด้วยกรรมการบริหารที่ ทุกคนเอาจริงเอาจัง และให้ความร่วมมืออย่างดีเยี่ยม ผมคิดว่าเราจะ ก้าวขึ้นสู่นานาชาติอย่างน้อยคือเป็นที่ 1 ในภูมิภาคอาเซียนได้อย่างแน่นอนประธนกรรมกรบริหร สทศ. เน้นย้ำ 7 ปี สทศ. ต่อยอด O-NET พัฒนาต่อเนื่อง ด้าน รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยกรสถาบันทดสอบทงกรศึกษาแห่งชติ (องค์กรมหชน) กล่าวว่า 7 ปี สทศ.ได้ร่วมแรงร่วมใจดำเนินงานครอบคลุม 7 พันธกิจสู่ความเชื่อมั่นและศรัทธา ด้วยพันธมิตรเครือข่ายการทดสอบและการนำผลไปใช้ที่มุ่งยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสู่คุณภาพการศึกษาเป็นสำคัญ โดยสรุปดังนี้ 1. พัฒนาระบบ วิธีการทดสอบและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลตามมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียนในทุกระดับและทุกประเภท การศึกษา ทั้งระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ระบบ O-NET (ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551) ระบบ I-NET (ตามหลักสูตรอิสลามศึกษา พุทธศักราช 2546 และหลักสูตรอิสลามศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551) ระบบ N-NET (ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551) ด้านอาชีวศึกษา ได้แก่ V-NET ปวช.3 (ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ.2545 (ปรับปรุง พ.ศ.2546) และ ปวส.2 (ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ.2545) ระดับอุดมศึกษา ได้ดำเนินการทำวิจัยพัฒนาระบบ U-NET ที่คาดว่า จะนำร่องใช้ในปีการศึกษา 2555 และเริ่มดำเนินโครงการพัฒนาคลังข้อสอบ (Item bank) 2. จัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ให้แก่ นักเรียนชั้น ป.6 (ประมาณ 9 แสนคน) ม.3 (ประมาณ 9 แสนคน) และ ม.6 (ประมาณ 3 แสนคน) ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนที่เรียนปีสุดท้ายในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย ตามหลักสูตรอิสลามศึกษา (ประมาณ 7 หมื่นคน) นักเรียนที่จะจบชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบ (ประมาณ 2 แสนคน) ตลอดจนจัดการทดสอบนักเรียนที่กำลังศึกษาในภาคเรียนสุดท้ายชั้นปีที่ 3 (ปวช.3) ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพฯ (ประมาณ 2 แสนคน) รวมทั้งได้ริเริ่มโครงการเตรียมความพร้อมการพัฒนาระบบ E-Testing 3. งานบริการการทดสอบ ได้แก่ ระบบ GAT/PAT และระบบ 7 วิชาสามัญที่ สทศ. ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย เพื่อใช้คัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจนระบบการทดสอบสมรรถนะครูด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และเร่งวิจัยพัฒนาระบบการเทียบระดับและการเทียบโอนผลการเรียนในการศึกษาระบบเดียวกันหรือการศึกษาต่างระบบ โดยเฉพาะการทดสอบภาษาอังกฤษ ภาษาไทย เพื่อรองรับการจัดการศึกษาในประชาคมอาเซียน 4. ศึกษาวิจัย ทั้งการวิจัยและพัฒนาระบบการทดสอบทุกระบบ เพื่อให้การทดสอบในปีการศึกษาถัดไปมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นตามลาดับ มีการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านการทดสอบและประเมินผลทางการศึกษาระดับชาติ เช่น วิจัยและพัฒนาระบบ U-NET, วิจัยและพัฒนาระบบการเทียบโอน, วิจัยและพัฒนาระบบการทดสอบ Non-Cognitive Testing ตลอดจนกาหนดให้บุคคลากรสถาบันทาวิจัยสถาบัน เพื่อเป็นสารสนเทศใช้ในการวางแผนและพัฒนาสถาบัน 5. เป็นศูนย์กลางข้อมูลการทดสอบทางการศึกษา สนับสนุน และให้บริการผลการทดสอบแก่หน่วยงานต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะผลการทดสอบ O-NET ที่มีนักวิจัย คณาจารย์ นักศึกษา นิสิต ปริญญาเอกทำวิจัย และนักวิจัยจาก World bank และนักวิจัยจาก UNESCO นำผลสอบ O-NET ไปใช้ในการศึกษาวิจัย 6. ได้พัฒนาและส่งเสริมวิชาการด้านการทดสอบและประเมินผลการศึกษา โดยเฉพาะพัฒนาบุคลากรด้านการทดสอบ มุ่งส่งเสริมพัฒนาสมรรถนะครูด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โดยผ่านระบบการสอบและส่งเสริมให้ครูมีสมรรถนะให้เป็นไปตามเกณฑ์ ส่งเสริมให้มีโรงเรียน เครือข่ายการทดสอบและมีการริเริ่มพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานของระบบ วิธีการ เครื่องมือวัดของสถานศึกษา และเขตพื้นที่การศึกษา 7. เป็นศูนย์กลางความร่วมมือด้านการทดสอบทางการศึกษาทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ อาทิเช่น กรประชุมนนชติ International Executive Seminar on National Educational Testing , การประชุมเชิงปฏิบัติการมาตรฐานภาษาอังกฤษในระดับสากล และข้อสอบวัดสมิทธิภาพของประเทศไทย สทศ.บริหารงานภายใต้ค่านิยม NIETS วิสัยทัศน์ในการบริหารจัดการ : การบริหารจัดการที่มุ่ง คุณธรรม ภายใต้วัฒนธรรมคุณภาพที่มีทั้ง คนดีและระบบดี เสริมสร้างพันธมิตรผู้ใช้และเครือข่ายการทดสอบ ชี้นำการยกระดับคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา มาตรฐานวิชาการ และมาตรฐานวิชาชีพในทุกระดับการศึกษาและทุกระบบ มุ่งสู่การเป็นสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติมาตรฐานระดับสากลสทศ.บริหารองค์กรภายใต้ค่านิยมหลัก ดังนี้N : Networking สร้างพันธมิตรเครือข่าย การทดสอบและการนำผลไปใช้I : Innovation , Integrity พัฒนานวัตกรรมที่ทันสมัย ยึดมั่นในคุณธรรมE : Efficiency , Excellence มุ่งประสิทธิภาพ และ ความเป็นเลิศT : Transparency , Trust ผลที่โปร่งใสเชื่อถือได้ และ มีความศรัทธาS : Standard and Service Mind มั่นคงในมาตรฐานและให้ บริการด้วยใจ องค์กรที่ยึดมั่นในคุณธรรม ควมมีมตรฐน ควมเป็นเลิศ ควมมีประสิทธิภพ ควมโปร่งใส ให้เป็นที่ยอมรับเชื่อถือและศรัทธ สร้างสรรค์นวัตกรรมที่ทันสมัย สนสัมพันธ์เครือข่ยกรทดสอบ และกรนำผลไปใช้ เปี่ยมด้วยใจบริกร (NIETS) 7 ปี ภายใต้ 7 ยุทธศาสตร์ เพื่อให้การดำเนินงานของ สทศ.บรรลุตามพันธกิจและนโยบายของสถาบันฯ สทศ.จึงได้มีการขับเคลื่อนองค์กรด้วย 7 ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ดังนี้ยุทธศสตร์ที่ 1 : วิจัยและพัฒนาระบบการทดสอบและระบบการประเมิน ผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษา ในทุกระดับและทุกประเภทยุทธศสตร์ที่ 2 : การสื่อสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สร้างเครือข่ายองค์กรยุทธศสตร์ที่ 3 : การทำแผนนิติบัญญัติเกี่ยวกับการทดสอบและประเมินผลทางการศึกษาแห่งชาติ ยุทธศสตร์ที่ 4 : การพัฒนาโปรแกรมการทดสอบที่ได้มาตรฐานและประกันคุณภาพยุทธศสตร์ที่ 5 : สร้างศูนย์เครือข่าย สทศ. ประจำภูมิภาคยุทธศสตร์ที่ 6 : พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการทดสอบและประเมินผลให้ได้มาตรฐานระดับชาติยุทธศสตร์ที่ 7 : พัฒนาเพื่อเป็นศูนย์กลางการทดสอบระดับชาติและ นานาชาติ ก้าวสู่ 8 ปี ด้วยการเร่งขับเคลื่อน 7 เรื่องสำคัญ 1. จัดการทดสอบทุกระบบให้เป็นไปตามมาตรฐานการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติให้มากยิ่งขึ้นตามลำดับ 2. ศึกษาทิศทางการสอบ O-NET ที่อิง Literacy test 3. เร่งทำวิจัยและพัฒนาระบบการทดสอบที่วัดคุณภาพการศึกษาให้ครอบคลุมมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนทุกระดับการศึกษาและวิจัยระบบการเทียบโอน 4. ขยายงานบริการการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ เช่น การทดสอบภาษาอังกฤษ การทดสอบภาษาไทย รองรับการจัดการศึกษาในประชาคมอาเซียน 5 พัฒนาระบบการรับรองการดำเนินการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านการวัดและประเมินผลทางการศึกษาของหน่วยงานอี่นที่จัดการฝึกอบรมให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่ สทศ.กำหนด 6. (ร่าง) พระราชบัญญัติการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ 7. พัฒนาทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการทดสอบ สทศ.ขอบคุณทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ผลงานของ สทศ.ตลอด 7 ปีที่ผ่านมา เป็นผลงานของทุกท่านและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการบริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ อดีตผู้อำนวยการสถาบัน บุคคลากรด้านการทดสอบของ สทศ. ต้นสังกัด สถานศึกษา ศูนย์สอบ สนามสอบ นักเรียน ผู้ปกครอง และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีส่งผลให้การดำเนินงานของ สทศ.เป็นไปตามพันธกิจและนโยบายที่กำหนดไว้ และที่สำคัญ สทศ.ขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่ให้ความเชื่อมั่นในผลการทดสอบของ สทศ.อาทิเช่น ผลกรสอบ GAT/PAT (นำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระบบรับตรงและระบบรับกลาง) และ ผลกรสอบ 7 วิชสมัญ (นำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระบบเคลียริ่งเฮ้าส์) รวมทั้งได้นำ ผลกรสอบ O-NET, I-NET, V-NET, N-NET ไปใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา, ปรับปรุงและพัฒนาการเรียน การสอน, เทียบเคียงคุณภาพด้วยมาตรวัด (แบบทดสอบ) เดียวกัน นอกจากนี้ ผลกรสอบ O-NET ได้มีการนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น อาทิเช่น นำไปใช้ในการศึกษาต่อระดับ ม.1 และ ม.4 , นำไปใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระบบรับกลาง , นำไปใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ทั้งนี้ ได้มีการนำผลสอบ O-NET ไปใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่ง ในการตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนที่จบการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ทั้งระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้งนี้ ในระยะเริ่มแรกให้ใช้ผลการเรียนของผู้เรียนที่ประเมินโดยสถานศึกษาและผลคะแนน O-NET สัดส่วน 80:20 และจะปรับสัดส่วนเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสม โดยให้สถานศึกษาดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 สำหรับการนำผลสอบ O-NET ไปใช้ ดำเนินการตามนโยบาย 31 นโยบายหลักด้านการศึกษา ของ ฯพณฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ภายใต้การบริหารของ ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ตามนโยบายที่ 4) อย่างไรก็ตาม สทศ.ขอฝากถึงโรงเรียน นักเรียน และผู้ปกครองทุกท่าน หากมีข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ สทศ.ยินดีรับฟังข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ และมุ่งที่จะ ตอบสนองความพึงพอใจภายใต้ความถูกต้องและความเป็นธรรมที่นำไปสู่ความสุขของทุกฝ่าย
ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน |