คอลัมน์ รายงานพิเศษ
โปรแกรม The Geo meters
Sketchpad (GSP)
เป็นโปรแกรมเพื่อการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ที่สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยา
ศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ได้ส่งเสริมให้โรงเรียนประกอบการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์
เพื่อให้เด็กเรียนคณิตศาสตร์โดยสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
พัฒนาทักษะกระบวนการแก้ปัญหา
ช่วยสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นความสนใจในการเรียนคณิตศาสตร์ได้มากขึ้น
ปัจจุบันกว่า 60
ประเทศทั่วโลกใช้โปรแกรมนี้กันแล้ว มีการแปลถึง 16 ภาษา โดยโปรแกรม GSP
พัฒนาขึ้นโดยบริษัท Key Curriculum Press ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991
และพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ
โรงเรียนศรีสงครามวิทยา
อ.วังสะพุง จ.เลย นำโปรแกรม GSP
มาใช้ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนทุกระดับชั้น
ซึ่งนักเรียนได้มีการต่อยอดการเรียนรู้สู่การสร้างผลงานทางคณิตศาสตร์ที่น่า
สนใจ
"แฮ็ค"วรวิทย์ อุตมัง และ
"ท็อป"ธวัชชัย อุตมัง สองพี่น้องฝาแฝด นักเรียน ชั้น ม.5/1
โรงเรียนศรีสงครามวิทยา ได้ใช้ความรู้ทางคณิต
ศาสตร์ออกแบบลายผ้าด้วยโปรแกรม GSP ด้วยใจรักทางคณิตศาสตร์
ทั้งสองจึงใช้เวลาช่วงเย็นหลังเลิกเรียนประมาณวันละ 30 นาที-1 ช.ม.
ขลุกอยู่ในห้องคณิตศาสตร์และฝึกฝนการใช้โปรแกรม GSP ก่อนกลับบ้าน
เมื่อได้ลวดลายสวยงามถูกใจแล้ว
จึงได้นำลายผ้าไปให้กลุ่มทอผ้าบ้านเลิง
จัดการทอจนกลายเป็นผืนผ้าตามที่ต้องการ เช่น ลายผีตาโขน ลายไก่ ลายนก
ลายดอกไม้ต่างๆ โดยการสร้างลวดลายใช้คำสั่งสำคัญในโปรแกรม GSP เช่น
คำสั่งการสร้างเส้นตรง การแปลงทางเรขาคณิต การเลื่อนขนาน การสะท้อน การหมุน
เป็นต้น
"แฮ็ค" เล่าว่า
การฝึกพัฒนาทักษะขึ้นมาเรื่อยๆ
รู้สึกดีใจที่ปัจจุบันเราสามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้กว้างขวางมากขึ้น
โดยเมื่อใช้โปรแกรมนี้ทำให้เรียนคณิตศาสตร์เป็นรูปธรรมได้อย่างชัดเจน เช่น
กราฟ หรือพื้นที่ต่างๆ
เนื้อหาที่ชอบและถนัดที่สุดคือ
เรื่องของฟังก์ชัน กราฟ เพราะเรียนสนุก
ซึ่งโปรแกรมนี้จะแสดงผลออกมาอย่างชัดเจนและเข้าใจโปรแกรม GSP
ช่วยสนับสนุนส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ดี มีความแม่นยำถูกต้อง
"เรื่องคณิตศาสตร์เป็นเรื่องรอบๆ ตัว
ที่เราสามารถมองทุกอย่างเป็นคณิตศาสตร์ได้
และโปรแกรมนี้ยังสามารถประยุกต์กับวิชาฟิสิกส์ในเรื่องของคลื่น
ซึ่งตรงกับเรื่องกราฟในวิชาคณิต ศาสตร์ด้วย"
ขณะที่ "ท็อป" บอกว่า
เราแบ่งงานตามความถนัด แฮ็คจะถนัดด้านการสร้างสรรค์ศิลปะ
ส่วนท็อปจะถนัดเนื้อหาและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์
เทคนิคการเรียนคณิตศาสตร์ คือ ตั้งใจเรียน ขยันทำโจทย์
ส่วนเทคนิคการฝึกใช้โปรแกรม GSP ส่วนใหญ่มาจากการแก้โจทย์
เพื่อต่อยอดทางความคิด
"การฝึกหัดใช้โปรแกรม GSP
ไม่ยาก ในโปรแกรมมีเมนูพื้นฐานและเครื่องมือเป็นภาษาไทย
คำสั่งที่ใช้ส่วนใหญ่ก็มีการแปลงทางเรขาคณิต การสร้างรูปต่างๆ การคำนวณ
เขียนกราฟ ถ้าใช้คำสั่งพื้นฐานเหล่านี้เป็น
เราก็สามารถประยุกต์ไปยังเรื่องต่างๆ ได้ ฝึกฝนบ่อยๆ
จนเกิดความชำนาญก็จะสามารถประยุกต์ใช้ทำความเข้าใจวิชาอื่นๆ ได้ เช่น
ฟิสิกส์ เป็นต้น"
การสอนด้วยโปรแกรม GSP
ยังทำให้นักเรียนเรียนได้สนุก เข้าใจได้เร็ว และน่าตื่นเต้น
ทำให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติด้วยตัวเองได้ และนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียน
การสอนวิชาอื่นๆ เช่น วิทยาศาสตร์ ศิลปะอย่างไม่มีข้อจำกัด
ที่มา: http://www.matichon.co.th/khaosod |